น้ำตกแม่แจ้ฟ้า ,จังหวัดลำปาง

น้ำตกแม่แจ้ฟ้า หรือน้ำตกตาดเหมย ตั้งอยู่ห่างจากบ้านทุ่งฮ้าง หมู่ ๑ ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม เป็นทางรถยนต์เข้าไปประมาณ ๘ กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีน้ำใสสะอาดไหลลงแอ่งน้ำรองรับลงมาเป็นชั้น มีความสูงรวม ๙ ชั้น แต่ละชั้นงดงามด้วยสายน้ำสีเขียวมรกต ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของน้ำตกบนภูเขาหินปูน ภาพเขียนประวัติศาสตร์บ้านห้วยหก เป็นภาพเขียนสีแดงของกลุ่มคนเดินเรียงแถว มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี เป็นยุคสังคมเร่ร่อน และลักษณะของภาพเขียนดังกล่าวไม่ค่อยได้พบเห็นมากนักในประเทศไทย สามารถเดินเท้าจากหมู่บ้านห้วยหก ระยะทางประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร

ถ้ำโจร ,จังหวัดลำปาง


ถ้ำโจร เป็นถ้ำขนาดเล็ก มี ๓ ห้อง งดงามด้วยม่านหินย้อยในแต่ละโถงถ้ำ เล่ากันว่าอดีตเคยเป็นที่อาศัยของโจรมาก่อน

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ,จังหวัดลำปาง

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีเนื้อที่ประมาณ ๗๕๘,๗๕๐ ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์ของป่าสงวนแห่งชาติ ๙ แห่งในอำเภอต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมือง งาว แม่เมาะ และแจ้ห่ม จุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑,๒๕๓ เมตร พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นทางน้ำไหลลง ทางด้านตะวันตกไหลลงสู่แม่น้ำวัง ทางด้านตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำงาวซึ่งไหลต่อไปสมทบแม่น้ำยมที่ทางตอนเหนือของอำเภอสองจังหวัดแพร่ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานฯ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๖ องศาเซลเซียส อากาศเย็นที่สุดอยู่ในช่วงเดือนมกราคม ปกติฝนจะตกหนักในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า ๕๐ ชนิดเช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดีด เป็นต้น

แหล่งโบราณคดีค่ายประตูผา,จังหวัดลำปาง

แหล่งโบราณคดีค่ายประตูผา อยู่บริเวณเดียวกับศาลเจ้าพ่อประตูผา ครอบคลุมพื้นที่บริเวณหน้าผาเทือกเขาหินปูนด้านทิศตะวันออก อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อประตูผา จุดผ่านสำคัญทางประวัติศาสตร์ของนครลำปาง มีภาพเขียนสีที่กล่าวกันว่ายาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุกว่า ๓,๐๐๐ ปี แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม ภาพบางส่วนค่อนข้างลบเลือนหมดแล้ว หลงเหลือพอให้เห็นได้เพียง ๑,๘๗๒ ภาพ ส่วนมากเป็นภาพมือ คน สิ่งของเครื่องใช้สัตว์ พืช และภาพเชิงสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณด้วย พื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา มีการจัดเดินป่าเชิงอนุรักษ์ กระโดดหอ การฝึกแบบทหาร และวิทยากรนำชมแหล่งโบราณคดีฯ

เจ้าพ่อประตูผาเดิมชื่อ ,จังหวัดลำปาง

เจ้าพ่อประตูผาเดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็ก เป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน เป็นทหารเอกของเจ้าผู้ครองนครลำปาง ครั้งหนึ่งได้ทำการต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูผาจนกระทั่งถูกรุมแทงตายในลักษณะถือดาบคู่ยืนพิงเชิงเขา ทหารพม่ากลัวจึงไม่กล้าบุกเข้าไปตีนครลำปาง ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธาและเคารพสักการะโดยตั้งศาลขึ้นบูชาเป็นที่นับถือของชาวลำปาง

ผาข้าง,จังหวัดลำปาง

ผาข้าง อยู่ตรงข้ามที่ทำการอุทยานฯ เป็นภูเขาลูกเล็กๆริมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ยอง บนเขามองลงมาเห็นอ่างเก็บน้ำ ที่ทำการอุทยานฯ และทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลังนอกจากนี้ยังมีถ้ำและน้ำตกอื่นๆที่เพิ่งจะสำรวจพบแต่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ เช่น น้ำตกห้วยแม่ปู น้ำตกห้วยค่าง ผายอง ถ้ำห้วยแดง ถ้ำก้นหอย และถ้ำแม่เก่งสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นทางการ ทางอุทยานฯจึงยังไม่มีบ้านพักและร้านอาหารบริการ แต่สามารถกางเต็นท์ได้ โดยต้องนำมาเอง สำหรับเรื่องอาหารการกิน ในตัวอำเภอสบปราบมีร้านอาหารอยู่บ้าง มีตลาดขายของสดตอนเช้ามืดและตอนเย็นหากต้องการซื้อของสดไปทำอาหารเอง ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงแต่ตอนกลางคืนใช้ไฟปั่น น้ำใช้ในห้องน้ำเป็นน้ำจากลำห้วยแม่งาช้างการเดินทาง ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถึงที่ว่าการอำเภอสบปราบ เมื่อเลยไปประมาณ ๕๐๐ เมตร มีทางเลี้ยวซ้ายตรงป้ายนาปราบ (หากมาจากลำปางทางเข้าจะอยู่ทางขวา ระหว่างกิโลเมตรที่ ๕๔๙-๕๕๐) เลี้ยวไปตามถนนคอนกรีตราว ๗.๕ กิโลเมตรจะมีป้ายของอุทยานฯให้เลี้ยวซ้ายไปอีก ๖ กิโลเมตร ถนนช่วงนี้เป็นทางลูกรังค่อนข้างสมบุกสมบัน ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อหรือรถปิกอัพ สุดถนนคือที่ทำการอุทยานฯ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ยอง

น้ำตกตาดปู่หล้า ,จังหวัดลำปาง

น้ำตกตาดปู่หล้า เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ๒ ชั้น มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑ กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

น้ำตกแม่งาช้าง ,จังหวัดลำปาง


น้ำตกแม่งาช้าง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝนสูงประมาณ ๑๒ เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ ๒ กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

น้ำตกตาดปู่หล้า ,จังหวัดลำปาง

น้ำตกตาดปู่หล้า เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ๒ ชั้น มีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑ กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

ผากาน ,จังหวัดลำปาง

ผากาน อยู่ห่างจากยอดดอยจงประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นทางดิ่งลงเขาตลอด เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับดูนก เป็นผาหินปูนแหลมคมการปีนขึ้นต้องใช้ความระมัดระวัง จากบนผามองเห็นผืนป่าและทิวเขาทอดตัวยาว ทางด้านหลังมองเห็นยอดดอยจงอยู่สูงกว่าระดับสายตาจุดชมทิวทัศน์ป่าแม่อาบ บริเวณสองข้างทางถนนสายเถิน-ลี้ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๑๓-๒๖

เถิน,จังหวัดลำปาง

อุทยานแห่งชาติแม่วะ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกแม่วะ มีพื้นที่ ๓๖๘,๑๒๕ ไร่ หรือ ๕๘๙ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต่างๆ ในอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงติดต่อกัน โดยมีดอยตาจี่เป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงประมาณ ๑,๐๒๗ เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าแตกต่างกันไปตามระดับความสูงของพื้นที่ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และดิบแล้ง ลักษณะสัณฐานของเทือกเขาในอุทยานจะเป็นที่ราบเป็นแนวยาวไปตามสันเขา มีต้นไม้ขนาดใหญ่และพืชสมุนไพรอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งกล้วยไม้และดอกไม้นานาชนิด ที่นี่ยังมีความหลากหลายทางกายภาพ ทั้งชนิดของดิน และสภาพป่าทำให้พืชและสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่หลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือกิ้งก่าบินที่ปัจจุบันจะพบเห็นได้ยาก แต่ยังพบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติแม่วะ ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ป่างามมากที่สุด เต็มไปด้วยสีสันของดอกไม้ป่า ยอดเขาจะมีหมอกปกคลุม น้ำตกและลำห้วยจะมีน้ำไหลแรง นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนในช่วงเดือนนี้ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานฯ มีน้ำตกแม่วะ จัดเป็นน้ำตกที่สูงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง ที่สำรวจแล้วมี ๑๒ ชั้น ชั้นที่สูงที่สุดมีความสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร มีชื่อว่า “ตาดหลวง” แต่ช่วงหน้าแล้งน้ำจะแห้ง นอกจากนั้นยังมีน้ำตกที่รอการสำรวจอีกหลายแห่ง และมีถ้ำอยู่มากมายทั้งที่ทำการสำรวจแล้ว เช่น ถ้ำน้ำผ่าผางาม และกำลังจะทำการสำรวจเพิ่มเติม ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบริการบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ การเดินทาง จากลำปางมาตามทางหลวงหมายเลข ๑ เลยอำเภอเถินมาประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ถึงหลัก กม.ที่ ๔๙๘-๔๙๗ จะมีทางแยกขวามือข้างโรงเรียนแม่วะวิทยาเข้าไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ทีทางแยกซ้ายมือเป็นทางคอนกรีตไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วะ ซึ่งอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้านหากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางให้ลงที่ป้อมตำรวจแม่วะ จะมีมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เข้ามาที่อุทยานฯราคาไม่เกิน ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ๕๒๒๓๐

สอบถาม ข้อมูลท่องเที่ยว เบอร์โทรสถานที่ต่างๆ โทร. 1672 (การท่องเที่ยว)

วัดพระยืน,ลำพูน


วัดพระยืน ตั้งอยู่ที่บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง ข้ามลำน้ำกวง ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๔ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๙ ประมาณ ๕๐๐ เมตร วัดพระยืนมีชื่อเดิมว่า วัดพฤทธมหา-สถาน ซึ่งพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญชัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๖๐๖-๑๖๑๑ พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย

วัดจามเทวี ,ลำพูน

วัดจามเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๘ เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ. ๑๒๙๘ เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า “กู่กุด” หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ”นอกจากนั้นยังมี รัตนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป ๘ เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔.๔๐ เมตร สูงจรดยอด ๑๑.๕๐ เมตร องค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์

วัดมหาวัน,ลำพูน

วัดมหาวัน ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๕๐๐ เมตร เลียบไปตามคูเมืองเก่า มีตำนานการสร้างวัดกล่าวว่า วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อคือ พระรอดมหาวัน

อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี ,ลำพูน


อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี ตั้งอยู่ที่บริเวณดอยติ ริมถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์ตรงทางเข้าสู่เมืองลำพูน เดิมนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญไชยอย่างมั่นคง

ปทุมวดีเจดีย์,ลำพูน


ปทุมวดีเจดีย์ หรือพระสุวรรณเจดีย์ ตั้งอยู่ทางขวาของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ภายหลังจากสร้างพระบรมธาตุเสร็จได้ ๔ ปี พระสุวรรณเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปรางค์ ๔ เหลี่ยม ฝีมือช่างละโว้ มีพระพุทธรูปประจำซุ้ม ฝีมือแบบขอมปรากฎให้เห็นอยู่บ้าง ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานล่างเป็นกรุบรรจุพระเครื่อง

พระบรมธาตุหริภุญชัย,ลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ เจดีย์ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสัตถบัญชร (ระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วเหล็กและทองเหลือง) ๒ ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม หอคอยประจำทุกด้านรวม ๔ หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระบรมธาตุทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ การสร้างคราวนี้ได้สร้างโครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับลังกา

วิหารหลวง,ลำพูน

วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ ๓ องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์

ซุ้มประตู ,ลำพูน


ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ ๑ เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ,ลำพูน


วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๕๐ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๖๕๑ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม ๒๐ บาท ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย,ลำพูน


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ตั้งอยู่ถนนอินทยงยศเยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุแบ่งเป็น ๓ ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่ เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น ๓ สมัย คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ได้แก่ พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวดาเป็นต้น ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียวมีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคารหลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือตีเหล็ก เครื่องมือทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พานดอกไม้เชี่ยนหมาก เป็นต้น ห้องศิลาจารึก เป็นห้องโถงเปิดโล่ง อยู่ชั้นล่างของตัวอาคาร จัดแสดงศิลาจารึก สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และศิลาจารึก สมัยล้านนา อยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา เปิดทำการเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนละ ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๑๑๘๖ โทรสาร ๐ ๕๓๕๓ ๐๕๓๖

น้ำตกภูสอยดาว


น้ำตกภูสอยดาว ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับที่ทำการเดิมของวนอุทยานฯ ซึ่งเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยอยู่ริมเส้นทางสายนาแห้ว-ห้วยมุ่น เพียง 80 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวผู้ผ่านไปมาจะแวะเข้ามาชมอยู่เสมอ และเป็นเส้นทางที่ต้องเดินเท้าขึ้นไปลานป่าสน

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว,จังหวัดอุตรดิตถ์


อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ ๑๔๙,๓๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อปี ๒๕๓๗ ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย-ลาว มียอดภูสอยดาวสูงที่สุด ๒,๑๐๒ เมตร จากระดับทะเล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่นป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่าง ๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน

น้ำตกแม่พูล,อำเภอลับแล


น้ำตกแม่พูล อยู่ที่หมู่ ๔ บ้านต้นเกลือ ตำบลแม่พูล เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ โดยการเทปูนให้น้ำไหลลดหลั่นจากบนเขาสูงลงมา ดูคล้ายน้ำตกธรรมชาติ สูงหลายชั้น สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณใกล้ ๆ น้ำตกเป็นสวนลางสาด บริเวณน้ำตกมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารและที่จอดรถไว้บริการการเดินทาง จากอำเภอเมืองถึงอำเภอลับแล ระยะทาง ๘ กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๔๓ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร หรือขึ้นรถสองแถวที่ถนนตุลาสถิตย์ ในตัวเมืองรถจะออกทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐–๑๗.๓๐ น. หรือจะเหมาแท๊กซี่ไปก็ได้

ลานสน น้ำปาด

ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยากเพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่มีทางแยกไปไหน ระยะทางเดินเท้าขึ้นลานสนประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ ๕-๖ ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดขื่นสดใสให้กับลานสน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย บนลานสนไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐–๑๓.๐๐ น. น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตกอยู่บนลานสน มี ๗ ชั้น ทางไปน้ำตกเป็นหุบเขา ค่อนข้างลาดชัน อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และสามารถกางเต็นท์ได้บนยอดลานสน สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. ๕๗๙–๕๗๓๔, ๕๗๙–๗๒๒๓ หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ๕๓๑๑๐การเดินทาง จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๔๕ ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ สู่อำเภอน้ำปาด ระยะทาง ๖๘ กิโลเมตร ต่อจากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข ๑๒๓๙ ไปทางบ้านห้วยมุ่นอีกประมาณ ๔๗ กิโลเมตร และจากบ้านห้วยมุ่นใช้เส้นทางหมายเลข ๑๒๖๘ อีก ๑๘ กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกภูสอยดาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้าขึ้นสู่ยอดลานสน สำหรับรถโดยสารประจำทาง จากอุตรดิตถ์จะมีรถโดยสารปรับอากาศออกจากตลาดอำเภอเมือง (ตลาดต้นโพธิ์) ไปอำเภอน้ำปาดทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐–๑๗.๐๐ น. (แต่รถเที่ยวแรกจะเข้ามาที่สถานีขนส่ง เวลา ๐๕.๐๐ น.) ใช้เวลาประมาณ ๒.๓๐ ชั่วโมง จากนั้นลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด จะมีท่ารถสองแถว ต้องเหมารถไปภูสอยดาวประมาณ ๓๐๐ บาท ใช้เวลาเดินทางอีก ๓ ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับทางอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้องเหมารถไป ราคาประมาณ ๕๐๐ บาท ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง และต่อรถโดยสารไม่ปรับอากาศที่อำเภอชาติตระการ สายชาติตระการ-นครไทย-พิษณุโลก มีรถบริการระหว่างเวลา ๐๕.๐๐–๑๗.๓๐ น. ช่วงนี้ใช้เวลา ๓ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๔๓ บาท รถโดยสารจากพิษณุโลก กลับกรุงเทพฯ ควรจะไปซื้อตั๋วที่บริษัทในตลาดโดยตรงมากกว่าที่จะมาที่สถานีขนส่ง เนื่องจากมีโควต้าขายตั๋วน้อย

อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร,อุตรดิตถ์

อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร อยู่หมู่ ๗ บ้านท้องทับแล ตำบลฝายหลวง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ๑๒ กิโลเมตร จากอำเภอลับแล ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๔๓ เป็นอนุสาวรีย์ของปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแล

วัดเจดีย์คีรีวิหาร,อุตรดิตถ์

วัดเจดีย์คีรีวิหาร อยู่ที่หมู่ ๑ บ้านวัดป่า ตำบลฝายหลวง ห่างจากตัวจังหวัด ๑๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๔๐-๑๐๔๓ เป็นบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงาม บานประตู และหน้าบันเป็นไม้แกะสลัก

วัดพระแท่นศิลาอาสน์,อุตรดิตถ์


วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อยู่เลยวัดพระยืนไปเล็กน้อย วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ที่เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน นอกจากนั้นภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี ๒ ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ เรือพายโบราณ ชั้นบน แสดงเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตชาววัง - ชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็ก-ก่อสร้าง เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่แกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐–๑๗.๐๐ น.

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล,อุตรดิตถ์

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒ ประมาณ ๕๐๐ เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียงแสน ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ที่ประดิษฐานบนฐานดอกบัวสูงประมาณ ๑.๕ เมตร ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้ ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า “หลวงพ่อพุทธรังสี” เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์ ต่อมาได้กระเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง,อุตรดิตถ์

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อยู่ที่หมู่ ๓ บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒ ประมาณ ๓ กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก ๒ วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ ๔ มุม ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มคูหา ๔ ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง,อุตรดิตถ์

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อยู่ที่หมู่ ๓ บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๒ ประมาณ ๓ กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก ๒ วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ ๔ มุม ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มคูหา ๔ ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง

อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ,ลับแล


อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ อยู่ตรงสี่แยกตลาดลับแล เดิมชื่อ ทองอิน เป็นนายอากรสุรา เชื้อสายจีน แต่ด้วยความรักในท้องถิ่นจึงพัฒนาเมืองลับแลมาโดยตลอด เป็นผู้นำชุมชนที่ชาวลับแลให้ความนับถือ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิศาลจีนะกิจ และเลื่อนเป็นพระศรีพนมมาศ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑

วัดต่อแพ,อำเภอเมือง ขุนยวม


วัดต่อแพ ตั้งอยู่ที่บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ ๗ กิโลเมตร โดยก่อนที่จะถึงตลาดมีทางแยกจากทางสาย ๑๐๘ ตรงข้ามกับวัดม่วยต่อ ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด เป็นวัดเก่าแก่อยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำยวม มีวิหารขนาดใหญ่แบบพม่า สร้างอย่างวิจิตรสวยงามมากซึ่งภายในวิหารมีผ้าม่านเก่าแก่ทำด้วยกำมะหยี่ประดับลูกปัด มุกและทับทิม จำนวน ๑๖๔ เม็ดและมีธรรมาสน์สร้างใน พ.ศ. ๒๔๖๔ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงมอญอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าบริเวณนี้แต่เดิมเคยเป็นที่พัก และรวมไม้ซุง นักต่อแพเหล่านี้ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาแล้วให้ชื่อว่า “วัดต่อแพ”

ห้วยจอกหลวง,ตำบลแม่ฮี้

ห้วยจอกหลวง เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยจอกหลวงอยู่บริเวณป่าแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ มีการปลูกดอกไม้เมืองหนาวหลายชนิดและออกดอกในฤดูหนาวตั้งอยู่บนภูเขาและมีทิวทัศน์สวยงามมากอยู่ห่างจากอำเภอปายประมาณ ๔๓ กิโลเมตร ฤดูที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวคือ ฤดูหนาว

โป่งเดือด,น้ำพุร้อนแบบไกเซอร์

โป่งเดือด เป็นบ่อน้ำพุร้อนแบบไกเซอร์ (Geyser type) ขนาดใหญ่ ซึ่งมีอุณหภูมิสูง และมีแรงดันสูงมาก ลักษณะของน้ำพุร้อนพุ่งสู่ผิวดินตลอดเวลาบางครั้งจะพุ่งขึ้นถึง ๒ เมตร มีกลิ่นค่อนข้างแรง จากลานจอดรถจะต้องเดินไปประมาณ ๕๐๐ เมตร การเดินทางไปสู่โป่งเดือดใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ (แม่มาลัย-ปาย) กิโลเมตรที่ ๔๒ ก่อนถึงอุทยานห้วยน้ำดัง จะมีป้ายให้เลี้ยวขวาเข้าไป ๖.๕ กิโลเมตร

ห้วยน้ำรู และดอยสามหมื่น

ห้วยน้ำรู และดอยสามหมื่น เดินทางจากดอยช้างไปอีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จะถึงห้วยน้ำรู ลักษณะเป็นตาน้ำเล็ก ๆ ที่สร้างความชุ่มชื่นให้แก่ผืนป่า และเป็นต้นน้ำของลำน้ำแม่แตงที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง ส่วนดอยสามหมื่นเป็นที่ตั้งของหน่วยจัดการต้นน้ำซึ่งมีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนยอดดอย

จุดชมวิวดอยช้าง,แม่ฮ่องสอน


จุดชมวิวดอยช้าง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางลูกรังอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ดอยช้างเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในอุทยานฯ เป็นจุดที่สามารถมองเห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อน และทะเลหมอกในยามเช้าตรู่ ดอยช้างปกคลุมด้วยป่าดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกเขน นกปรอด ฯลฯ นับเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจมากแห่งหนึ่ง

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง,ตำบลเมืองแปง


โป่งน้ำร้อนเมืองแปง อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง ห่างจากอำเภอปายประมาณ ๒๘ กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย ๑๒๖๕ ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๘๕-๘๖ ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง เป็นทางลูกรังสลับกับคอนกรีต เป็นบ่อน้ำร้อนขนาดใหญ่ อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง ๙๕ องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะ ๆ

น้ำตกหมอแปง,แม่ฮ่องสอน


น้ำตกหมอแปง อยู่หมู่ที่ ๔ บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางจากเส้นทางอำเภอปาย-แม่ฮ่องสอน มีทางแยกซ้ายจากถนนใหญ่เข้าไป ๖ กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีตถึงบริเวณแก่งเมืองปายรีสอร์ทจากนั้นจะเป็นทางลูกรัง ๒ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวนิยมเช่าจักรยานและจักรยานยนต์ขี่มาเที่ยวชมได้ น้ำตกหมอแปงเป็นน้ำตกขนาดเล็กไหลลงอยู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำตลอดทั้งปี สูงประมาณ ๕ เมตร บรรยากาศร่มรื่น ในบริเวณใกล้ ๆ กับน้ำตกมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น,แม่ฮ่องสอน

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายปาย-แม่ฮ่องสอน เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว

โป่งน้ำร้อน,ท่าปาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๘๗-๘๘ แยกซ้ายเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางลาดยางตลอดทั้งสาย มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ และมีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นเป็นน้ำผุดหลายจุด ความร้อนประมาณ ๘๐ องศาเซลเซียส รอบๆโป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สัก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง,จังหวัดแม่ฮ่องสอน


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหงจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๕๒ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีภูเขาที่สูงที่สุดคือดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย

วัดน้ำฮู,จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัดน้ำฮู อยู่ที่หมู่ที่ ๕ ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางโรงพยาบาลปายประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีลักษณะพิเศษคือพระเศียรกลวง พระโมฬีปิดเปิดได้และมีน้ำซึมออกอยู่เสมอประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมืองทางวัดเปิดให้เข้านมัสการทุกวัน

วัดกลาง,จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัดกลาง อยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ

อุทยานสวรรค์,นครสวรรค์


อุทยานสวรรค์
เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่กลางเมืองนครสวรรค์มีผู้นิยมไปพักผ่อนหย่อนใจกันมาก มีเนื้อที่ 314 ไร่ ใกล้ทางแยกสายเชียงใหม่-พิษณุโลก ติดกับถนนสายเอเซีย อุทยานสวรรค์ประกอบด้วยหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า "หนองสมบุญ" มีถนนวงแหวน 2 ชั้นล้อมรอบ ตรงกลางเป็นเกาะซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ มีสวนหย่อม สนามหญ้า น้ำพุ เวทีกลางแจ้ง น้ำตก ริมฝั่งน้ำภายในอุทยานจัดเป็นสวนสุขภาพ ด้านหน้าของสวนสาธารณะสร้างอย่างสวยงาม มีห้องน้ำ ห้องแต่งตัวบริการแก่นักท่องเที่ยว

วัดจอมคีรีนาคพรต,อำเภอเมือง


วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา)
อยู่บนยอดเขาบวชนาค ระหว่างเชิงสะพานเดชาติวงศ์และค่ายจิรประวัติ ตำนานกล่าวว่า เมื่อกองทัพพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในครั้งที่ 2 ได้แล้ว จึงร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อแสดงว่านับถือพุทธศาสนาเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทจำลองและพระอุโบสถที่ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์เทวดาสร้าง” ทุกๆ เดือน 12 ของปีจะมีงานนมัสการและปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองนี้เรียกว่า “งานวัดเขา” ซึ่งนอกจากจะมีงานสมโภชน์แบบงานวัดทั่วไปแล้วยังมีการแข่งขันเรือยาวอีกด้วย เมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดเขาบวชนาคและมองลงมาจะเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของสะพานเดชาติวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา และเขากบ

วัดศรีสวรรค์สังฆาราม,วัดถือน้ำ


วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
ตั้งอยู่ที่ตำบลนครสวรรค์ ออกห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ไปตามถนนพหลโยธิน (นครสวรรค์-กรุงเทพฯ) เข้าไปทางค่ายจิรประวัติ เป็นวัดเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับข้าราชการกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยมีใบหอก ใบพาย มีดดาบสมัยโบราณ พระพุทธรูปทองคำปางปฐมเทศนาและพระพุทธรูปเนื้อเงินบรรจุอยู่ภายใน พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าประมาณอายุได้ 100 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ มาทรงตัดลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ วัดนี้ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดที่มีคุณค่าแก่การศึกษาในทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งแห่งหนึ่ง

ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม


ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
ตั้งอยู่บริเวณชุมชนชาวปากน้ำโพ ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะและเป็นจุดรวมน้ำใจของชาวบ้าน รวมทั้งผู้สัญจรทางน้ำที่ผ่านไปมา

วัดเกรียงไกรกลาง,นครสวรรค์

วัดเกรียงไกรกลาง
ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลเกรียงไกร ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง เป็นวัดเก่าแก่ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ เจดีย์เก่าและมณฑปพระพุทธบาท บริเวณวัดมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าของวัดมีเอกชนจัดทำฟาร์มเลี้ยงจระเข้อยู่ด้วย

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
นครสวรรค์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านได้ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ บริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวเมือง ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว จะมองเห็นถึงความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือแม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสายสำคัญของประเทศไทย ไหลผ่านจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางไปจนถึงกรุงเทพมหานคร และออกอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเที่ยวทางเรือเพื่อชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแวะนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดปากน้ำโพ (วัดทองธรรมชาติเหนือ) สามารถเช่าเรือจากท่าน้ำเจ้าพระยา โดยเสียค่าเช่าเรือประมาณ 180 บาท (ไปกลับ) เรือบรรทุกได้ 15 คน

ถ้ำบ่อยา,นครสวรรค์

ถ้ำบ่อยา
เป็นถ้ำอยู่บนเขาที่หมู่บ้านหินก้อน ตำบลหนองกรวด อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวเมืองเป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ลาดยาว ทางแยกเข้าวัดถ้ำบ่อยา (วัดศรีอุทุมพร) ระยะทาง 6 กิโลเมตร จากบริเวณเชิงเขา มีบันไดขึ้นไปสู่ตัวถ้ำ ภายในถ้ำมีบริเวณกว้างขวางพอสมควร โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ตอนแรกเป็นที่ตั้งพระประธานองค์ใหญ่ ช่วงที่ 2 อยู่ลึกเข้าไปข้างในเป็นทางตัน บริเวณนี้จะมีบ่อน้ำทิพย์ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นบ่อยาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ช่วงที่ 3 เป็นทางที่จะออกจากบริเวณถ้ำสู่ภายนอกได้ทางหนึ่ง ภายในบริเวณถ้ำนอกจากจะมีบ่อน้ำทิพย์อยู่ดังกล่าวแล้ว ยังมีหินย้อยตามธรรมชาติที่งดงาม ซึ่งจะมองเห็นได้จากแสงไฟฟ้า ซึ่งมีให้ความสว่างอย่างเพียงพอภายในถ้ำ

วัดเกรียงไกรกลาง,นครสวรรค์

วัดเกรียงไกรกลาง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลเกรียงไกร ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง เป็นวัดเก่าแก่ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ เจดีย์เก่าและมณฑปพระพุทธบาท บริเวณวัดมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าของวัดมีเอกชนจัดทำฟาร์มเลี้ยงจระเข้อยู่ด้วย

วัดนครสวรรค์ ,นครสวรรค์

วัดนครสวรรค์ (วัดหัวเมือง)
ตั้งอยู่ที่ถนนสวรรค์วิถี เป็นที่ประดิษฐานพระผู้ให้อภัยยิ่งหรือพระหันหลังให้กัน อยู่หลังโบสถ์วัดนครสวรรค์ด้านถนนเทพสิทธิชัย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ มีประวัติว่าชนชาติพม่าเป็นผู้สร้าง พม่าเคยยกทัพมาถึงเมืองนครสวรรค์ และได้สร้างพระพุทธรูปไว้เป็นอนุสรณ์ การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึงการให้อภัยไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป และภายในโบสถ์วัดนครสวรรค์นั้น มีพระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อศรีสวรรค์ ประดิษฐานอยู่เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครสวรรค์