อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


ข้อมูลทั่วไป

ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" เปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีสัชนาลัย" ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่มากมาย สำรวจค้นพบแล้ว 134 แห่ง


การเดินทาง

การเดินทางไปยังอำเภอศรีสัชนาลัยจากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 (สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย) ถึงบริเวณกิโลเมตร 64 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร ระยะทาง 68 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ได้ที่คิวรถ บริเวณตลาดเทศบาล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางจากสวรรคโลกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท นักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. (055) 679211


จุดเด่นที่น่าสนใจ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียงหรือวัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า ศรีสัช นาลัย ลงไปทางด้านใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 22.50 เมตร ด้านหน้าพระปรางค์มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์ ซึ่งมีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาพนมเพลิง
ตั้งอยู่บนยอดเขาลูกเตี้ยๆ ของเมืองเก่าศรีสัชนาลัย สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ตัวพระเจดีย์ศิลาแลง และวิหารใหญ่ด้านหน้า ด้านหลังของเจดีย์มีมณฑปเล็กๆ หลังหนึ่งตั้งอยู่ ที่วิหารมีเสาศิลาแลงและพระพุทธรูปซึ่งตั้งเป็นประธานแต่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พระประธานในวิหารประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ นำมาต่อกัน และตกแต่งพอกปูนภายนอกอีกทีหนึ่ง

วัดเขาสุวรรณคีรี
อยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากยอดเขาพนมเพลิง 200 เมตร และมีความสูงกว่ายอดเขาพนมเพลิงเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่มีรูปเป็นองค์ระฆังคว่ำใหญ่โตและสูงมาก ฐานของเจดีย์ทำสูงขึ้นไปถึง 5 ชั้น มีบันไดศิลาแลงเตี้ยๆ สำหรับเดินขึ้นไปบริเวณทักษิณของเจดีย์ได้ ที่ด้านหลังของเจดีย์ใหญ่มีวิหารน้อยและเจดีย์ขนาดเล็กๆ และตรงกำแพงแก้วชั้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดใหญ่ และรูปสิงห์ รูปปูนปั้นเหล่านี้ชำรุดและล้มอยู่กับพื้นดิน ลักษณะของรูปยักษ์คล้ายรูปยักษ์วัดช้างล้อมมาก สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างวัดนี้

วัดช้างล้อม
อยู่ในเขตตัวเมืองศรีสัชนาลัย เป็นวัดสำคัญของเมือง มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน 39 เชือก และช้างที่อยู่ตามมุมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องตัวใหญ่สวยงามกว่าช้างเชือกอื่นๆ โดยรอบเหนือฐานเจดีย์จะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกซุ้ม

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้ นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมายเป็นศิลปะสุโขทัยแท้ก็มี เป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัยก็มี นอกจากนี้ภายในเจดีย์บางองค์ยังมีภาพเขียนผนังอีกด้วย แต่ในปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
อยู่ไม่ห่างจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนัก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ สิ่งสำคัญของวัดนี้ก็คือ เจดีย์ทรงลังกา ที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้ดูแปลกตากว่าเจดีย์ทรงลังกาวัดอื่นๆ

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า วัดสระแก้ว มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้าของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐานที่มีกล่าวถึงในพงศาวดารเหนือนั่นเอง

วัดนางพญา
เป็นวัดที่มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ของวัดก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล


:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบ และอุโมงค์ขุนตานซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยชาวเยอรมัน มีเนื้อที่ประมาณ 159,556.25 ไร่ หรือ 255.29 ตารางกิโลเมตร

ป่าดอยขุนตาลแห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าดอยขุนตาลในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาล ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2506) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 82 วันที่ 13 สิงหาคม 2506 เนื้อที่ 39,206.25 ไร่ และในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาลตาม กฏกระทรวงฉบับที่ 359 (พ.ศ. 2511) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 109 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2511 เนื้อที่ 120,625 ไร่

กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 40/2508 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2508 ให้นาย วรเทพ เกษมสุวรรณ ไปทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ต่อมากรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 5/2517 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2517 ให้กำหนดป่าขุนตาลเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 1160/2517 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2517 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล โดยยึดถือตามแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผลการสำรวจตามบันทึกลงวันที่ 1 ธันวาคม 2517 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ปรากฎว่า ป่าดอยขุนตาลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายชนิด เช่น พันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ กล้วยไม้ สมุนไพร สัตว์ป่านานาชนิด บรรยากาศที่ร่มรื่นที่เงียบสงบ และมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่าดอยขุนตาลจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติจัดตั้งป่าดอยขุนตาลเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดอยขุนตาล ในท้องที่ตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง ตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เนื้อที่ 159,556.25 ไร่ หรือ 255.29 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 54 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2518 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 10 ของประเทศไทย


:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาขุนตาล ซึ่งเป็นเทือกเขาที่แบ่งระหว่างที่ราบลุ่มเชียงใหม่ และที่ราบลุ่มลำปาง เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 325-1,373 เมตร จุดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติได้แก่ ดอยขุนตาล มีที่ราบอยู่เพียงเล็กน้อยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำส่วนหนึ่งของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่ และแม่น้ำวังซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเขตอุทยานแห่งชาติ ลำน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำวังได้แก่ น้ำแม่ค่อม น้ำแม่ต๋ำ น้ำแม่ไพร เป็นต้น ส่วนที่ไหลลงสู่น้ำแม่ทา และออกสู่แม่น้ำปิงในที่สุด ได้แก่ ห้วยแม่ป่าข่า ห้วยแม่ยอนหวายหลวง ห้วยทุ่งไผ่ ห้วยสองท่า ห้วยแม่โฮ่งห่าง เป็นต้น


:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ทำให้เกิดฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีอยู่ในช่วง 1,050-1,290 มิลลิเมตร และต่อด้วยฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าว ก่อนที่จะเริ่มฤดูฝนต่อไปในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม และสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน


:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดิบแล้ง ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะตามหุบเขาหรือร่องห้วย เช่น หุบเขาแม่ตาลน้อย ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เฟือง ห้วยแม่ออน ห้วยหลวง และห้วยแม่ค่อม โดยมีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ย 500-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ โพบาย ยาง ตะคร้ำ สัตตบรรณ ตะเคียน ยมหอม มะหาด มะม่วงป่า กระท้อน พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย พืชในวงศ์ขิงข่า ผักกูด ผักหนาม และเฟิน เป็นต้น

ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อหัวหมู ก่อน้ำ มะก่อ ทะโล้ จำปาป่า แหลบุก สารภีป่า รักขาว ลำพูป่า ฯลฯ

ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมเล็กๆ บริเวณ ย.2 ย.3 และ ย.4 ป่าสนเขาในบริเวณนี้เป็นป่าที่ปลูกขึ้นมากว่า 50 ปี ชนิดสนที่พบได้แก่ สนสามใบ นอกจากนี้ยังมีไม้อื่นขึ้นปะปนได้แก่ กางขี้มอด กระพี้เขาควาย มะขามป้อม มะกอกเกลื้อน ประดู่ตะเลน อ้อยช้าง แข้งกวาง เป็นต้น

ป่าเต็งรัง ขึ้นปกคลุมตามเชิงเขาโดยรอบทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหรือดินลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ชนิดไม้ที่พบได้แก่ พลวง เหียง รักใหญ่ เก็ดแดง กาสามปีก รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้งเขา และหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ขึ้นระหว่างป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ บริเวณเชิงเขาทั้งทางด้านตะวันตก และตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีไผ่ซางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดไม้ที่พบได้แก่ มะเกลือเลือด แดง มะกอกเกลื้อน สมอพิเภก ตะแบกแดง และงิ้วป่า เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า ชะมดแผงหางปล้อง อ้นเล็ก กระแตเหนือ กระรอกท้องแดง กระเล็นขนปลายหูสั้น กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวกลาง หนูท้องขาว ไก่ป่า นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางไฟหัวน้ำตาล นกคุ่มอกลาย นกปากซ่อมหางพัด นกชายเลนน้ำจืด นกเด้าดิน นกเขาไฟ นกอีวาบตั๊กแตนนกบั้งรอกใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกแอ่นตาล นกกะเต็นน้อย นกจาบคาเล็ก นกตะขาบทุ่ง นกตีทอง นกเด้าลมเหลือง นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกขมิ้นน้อยสวน นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินปลีอกเหลือง จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูลายสอสวน งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว คางคกบ้าน กบหนอง และอึ่งข้างดำ เป็นต้น


:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
หมู่ 8 ต.ทาปลาดุก อ. แม่ทา จ. ลำพูน 51140
โทรศัพท์ : 0 5351 8726

รถยนต์
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ผู้ที่มาเยือนสามารถเดินทางทางรถยนต์ได้ 2 เส้นทาง คือ

- จากแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายลำปาง-เชียงใหม่ บริเวณกิโลเมตรที่ 15 - 16 บริเวณใกล้อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 28 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

- เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แยกขวาระหว่างกิโลเมตรที่ 46 - 47 บริเวณอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นทางลาดยาง ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

หมายเหตุ เส้นทางภายในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นถนนลาดยาง มีความลาดชันสูง บางช่วงมีโค้งหักศอก ควรขับขี่รถยนต์ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะเวลากลางคืน รถบัสไม่สามารถขึ้นได้


รถไฟ
ตามเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยลงที่สถานีขุนตาลแล้วเดินประมาณ 1.3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล


:: แหล่งท่องเที่ยว ::
ตามยอดเขาสูงของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล เป็นจุดเด่นที่เหมาะสำหรับการเดินศึกษาธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ การพักค้างแรม เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดอยขุนตาลเป็นดอยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และมีการใช้พื้นที่ตามจุดเหล่านี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ สำหรับการปฏิบัติการทางทหาร มีจุดยุทธศาสตร์อยู่ด้วยกัน 4 จุด ปัจจุบันรู้จักกันในนามของ ย.1 ย.2 ย.3 และ ย.4 ซึ่งย่อมาจากคำว่า จุดยุทธศาสตร์ที่ 1 – 4 นั้นเอง นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย


:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
จุดยุทธศาสตร์ที่ 1 "ย.1" เดินทางเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร จะถึง ย. 1 บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เคยใช้เป็นที่ประทับแรม ระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์ ปัจจุบันการรถไฟประเทศไทย เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


จุดยุทธศาสตร์ที่ 2 "ย.2" ย.2 อยู่ห่างจาก ย.1 ประมาณ 800 เมตร บริเวณนี้มีสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้บริเวณนั้นมีความร่มเย็นสวยงามตามธรรมชาติ ในอดีตบริเวณที่ใกล้ๆ ยอดเขาเคยเป็นแค็มป์ของบริษัททำไม้ ซึ่งมาหยุดกิจการช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ซื้อพื้นที่นี้เพื่อสร้างบ้านพัก และปลูกสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัว มีสวนลิ้นจี่ สถานที่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จไปพักผ่อนอิริยาบทที่เรือนรับรองนี้ 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2512 และ 2516


จุดยุทธศาสตร์ที่ 3 "ย.3" ห่างจาก ย. 2 ประมาณ 3,500 เมตร สภาพร่มรื่นด้วยป่าดิบเขา และมีนกป่าสวยงามให้ชมตลอดทาง เช่น นกสาลิกาเขียว นกพญาไฟใหญ่ นกปีกลายสก็อต นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ ฯลฯ บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่คณะมิชชันนารีอเมริกันคริสตจักร ได้มาสร้างบ้านพักท่ามกลางดงสนเขา ภายหลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว และคณะมิชชันนารีจะเดินทางมาพักผ่อนในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันบ้านพักอยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วไป


จุดยุทธศาสตร์ที่ 4 "ย.4" ย.4 อยู่ห่างจาก ย.3 มาประมาณ 1,000 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาขุนตาล ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสถานที่ส่องกล้องทางไกล ซึ่งเรียกว่า ม่อนส่องกล้อง สามารถมองเห็นทัศนียภาพตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจน ก่อนถึงยอดเขานี้จะผ่านป่าธรรมชาติที่ร่มรื่น และเย็นสบายตลอดทาง


น้ำตกตาดเหมย น้ำตกนี้อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย. 2 ไป ย. 3 โดยต้องเดินทางลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ 300 เมตร


น้ำตกแม่ลอง น้ำตกนี้อยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟขุนตาน ห่างไปประมาณ 10 กิโลเมตร โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีน้ำตกอยู่ตลอดปี สภาพป่าร่มเย็นตลอดทั้งปี



:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ ยาว 1,352 เมตร มีสวนไม้ดอกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ศาลเจ้าพ่อขุนตาลและอนุสาวรีย์ ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แก่ Emil Eisenhofer ชาวเยอรมัน ผู้ดำเนินการควบคุมการสร้าง


:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 7 หลัง


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


ค่ายเยาวชน มีค่ายพักเยาวชนให้บริการ จำนวน 1 หลัง พักได้ 48 คน


บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง



:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นป่าที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่านที่สำคัญ คือ ลำห้วยแม่หาด ลำห้วยแม่ก้อ และทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะพื้นที่ป่า ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง ตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีเนื้อที่ประมาณ 627,346 ไร่ หรือ 1,003.7536 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสภาจังหวัดลำพูน ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เสนอแนะให้จังหวัดลำพูน จัดตั้งวนอุทยานขึ้นครอบคลุมบริเวณจุดท่องเที่ยวต่างๆ ในป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด-ป่าแม่ก้อ ท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อจะได้เข้าไปควบคุม และจัดระเบียบกิจกรรม การพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ในพื้นที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งทางสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้ให้ นายเฉลียว นิ่มนวล ไปสำรวจพื้นที่และมีความเห็นควรจัดเป็นวนอุทยานขึ้น จึงรายงานให้กรมป่าไม้ดำเนินการ ประกอบกับทางจังหวัดลำพูน ได้เสนอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อเป็นแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่า หรืออุทยานแห่งชาติเช่นกัน ตามรายงานการสำรวจของ นายจีรเดช บารมี เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ประจำอำเภอลี้ ดังนั้นในเดือนธันวาคม 2522 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 2294/2522 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า พื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงามดีและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกก้อหลวง ทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ที่ กส 0708(มก)/51 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 ให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่หาดและป่าแม่ก้อ ในท้องที่ตำบลดอยเต่า ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่ลาน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านนา ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 626,875 ไร่ หรือ 1,003 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศ อนึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งได้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่หาด-แม่ก้อ ต่อมาเมื่อ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เพราะแนวเขตอุทยานแห่งชาติซีกซ้ายทั้งหมดครอบคลุมลำน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นเส้นน้ำสายใหญ่ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นจุดเด่นที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการขยายเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ครอบคลุมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 ในท้องที่ตำบลแม่ลาน และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระยะทาง 14.198 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 471 ไร่ หรือ 0.7536 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการลัดลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดแนวจากทิศเหนือในเขตพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จรดทิศใต้บริเวณตอนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ภูเขาส่วนใหญ่ มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ “ดอนห้วยหลาว” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงประมาณ 1,238 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยขุนเม่น ห้วยไคร้ เป็นต้น ห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปิง ที่ทอดยาวตลอดแนวเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตกสำหรับพื้นน้ำส่วนที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เริ่มจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลัดเลาะตามหุบเขา โตรกผา ลงมาทางทิศใต้จนถึงตอนบนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยของลำน้ำแม่ปิงประมาณ 500 เมตร ความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของลำน้ำแม่ปิงในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่ทางตอนใต้บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า “บ่อลม” และ “พระบาทห้วยห้าง”
:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
โดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียงของจังหวัดในภาคเหนือ แต่เนื่องจากลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศ และการมีป่าปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ภูมิอากาศบางส่วนจึงแตกต่างไปจากบริเวณโดยรอบอยู่บ้าง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ตอนบนของอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิตอนล่างของพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพล และเขตจังหวัดตากจะสูงกว่าเล็กน้อย ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฝนตกในบริเวณทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มากกว่าทางตอนใต้ เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,060-1,184 มิลลิเมตรต่อปี
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามเทือกเขาที่เป็นดินปนทรายและมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่เหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าดงดิบขึ้นอยู่เป็นพื้นที่แคบๆ ตามหุบเขาและริมลำห้วย ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง พบอยู่ทั่วไปทั้งในที่ราบ ตามลาดเขาสูงชัน และบนสันเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 450-1,000 พันธุ์ไม้ที่พบบ่อย ได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง มะขามป้อม พลวง กุ๊ก รกฟ้า มะกอกเกลื้อน แสลงใจ ผักหวาน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้ง ปรง กวาวเครือ กล้วยไม้ดิน และหญ้าชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นไปทั่วทั้งในที่ราบและตามลาดเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 450-800 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง กระพี้เขาควาย มะกอกเกลื้อน กระพี้จั่น ประดู่ ตะคร้อ เก็ดแดง ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เสี้ยวป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่หนาม เป้ง กวาวเครือ ถั่ว ปอยาบ เป็นต้น ในบริเวณของป่าผลัดใบทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ กระต่ายป่า เก้ง กวางป่า วัวแดง ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่ม นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานตะโพกแดง นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แย้ ตะกวด และงูกะปะ เป็นต้น ป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง กระบก มะกอก และสมอพิเภก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบซ่อนตัวของหมีควาย กวางป่า วัวแดง ลิงลม ลิงวอก ชะนีมือขาว กระรอก นกกาฮัง นกแก๊ก นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ และนกเขียวคราม ในบริเวณทุ่งหญ้า เช่น ทุ่งกิ๊ก และทุ่งนางู ซึ่งเป็นที่ราบบนเนินเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 550 เมตร ดินเป็นดินปนทรายหรือลูกรัง มีความลึกพอสมควร มีไฟป่าเกิดเป็นประจำ มีไม้ยืนต้นขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ได้แก่ รักขาว รกฟ้า และสมอไทย ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ เป้ง หญ้าคา ถั่ว และกระเจียว เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น กระจ้อน กระแต อ้นเล็ก เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่แผงคอสั้น ชะมด อีเห็น นกปรอดสวน นกปรอดก้นแดง นกกะติ๊ดขี้หมู เหยี่ยวขาว นกคุ่มอืด นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน คางคกบ้าน เขียดหนอง อึ่งอี๊ดต่างๆ เป็นต้น ตามบริเวณยอดเขา หลืบผา ถ้ำ และหน้าผาหินปูน เป็นที่อาศัยของเลียงผา กวางผา เม่นใหญ่แผงคอสั้น อ้นใหญ่ ลิงวอก ชะมด อีเห็น กระรอก ค้างคาว และเป็นที่สร้างรัง วางไข่ของเหยี่ยวชนิดต่างๆ และนางแอ่นตะโพกแดง ในบริเวณริมฝั่งน้ำ พื้นที่ชายน้ำ หรือในแหล่งน้ำเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนากใหญ่ พังพอนกินปู เสือปลา เหี้ย นกอีล้ำ เป็ดแดง นกกระสานวล นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางเขียว นกกวัก เต่าหวาย ตะพาบน้ำ งูลายสอ เขียดหนอง เขียดหลังเขียว ปลารากกล้วย ปลาก้าง ปลาดุก ปลาไหล เป็นต้นสัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามริมฝั่งแม่น้ำปิง เช่น เก้ง วัวแดง หมูป่า หมีควาย เลียงผา กวางผา เสือปลา ไก่ป่า ชะมดเช็ด ลิง ค่างเทา ชะนี หมาจิ้งจอก กระต่ายป่า กระรอก นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ ทั้งนกประจำถิ่น และย้ายถิ่นอีกมากมายภายในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาบู่ ปลาแรด เป็นต้น
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแม่ปิงตู้ ปณ.18 อ. ลี้ จ. ลำพูน 51110โทรศัพท์ : 0 5351 8060

รถยนต์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนโดยมีทางแยกจากถนนพหลโยธิน บริเวณอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เข้าไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 (ลี้-ก้อ) โดยที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนบริเวณ หลักกิโลเมตรที่ 20-21เนื่องจากภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นน้ำตามลำน้ำปิงยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีสภาพเป็นเกาะ แก่ง หน้าผา หินงอกหินย้อย ตามสองฝั่งแม่น้ำเป็นจำนวนมาก การเดินทางสามารถเดินทางได้จากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านลำน้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก หรือจะเดินทางจากอำเภอสามเงา จังหวัดตากไปยังอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้
:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกก้อหลวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 22 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าไปถึง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างดีของชาวจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง น้ำตกก้อหลวงเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ ไหลผ่านหินดินดานเทาดำและหินทรายของหน้าผาที่มีความสูงต่างระดับกันลดหลั่นกันลงมามีทั้งหมด 7 ชั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหินปูนและมีน้ำไหลตลอดปี จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย และมีความสวยงามตามธรรมชาติ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่สะอาดไม่มีสิ่งใดรบกวน ทำให้มีปลาชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย
ทุ่งกิ๊ก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 14 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ มากมาย ในช่วงฤดูแล้งดอกไม้ป่าหลายชนิดจะพากันบานเต็มทุ่งกิ๊ก สวยงามน่าชมมาก บริเวณทุ่งกิ๊กนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ ชื่นชอบกิจกรรมดูนก ซึ่งมีนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกระทาทุ่ง ฯลฯ จากบริเวณทุ่งกิ๊กเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร จะพบน้ำตกก้อน้อย ซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน ระหว่างทางจะพบกับดงเถาวัลย์ที่สวยงาม
ห้วยถ้ำ อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวที่อยู่ริมฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติบริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม การเข้าถึงสะดวก สามารถรถยนต์สามารถเดินทางเข้าไปถึงบริเวณดังกล่าวได้
ผาดำ-ผาแดง มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยป่าธรรมชาติที่ยังไม่มีการทำลาย จากจุดดังกล่าวสามารถมองเห็นทัศนียภาพชัดเจนระยะไกล การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าเท่านั้น
ถ้ำยางวี อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เป็นที่อาศัยของค้างคาว เม่น และเลียงผา การเดินทางเข้าไปชมต้องใช้ไฟฉายหรือส่องนำทางเข้าไป ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำยางวีมีป่าที่มีลักษณะเป็นป่าสนเขา มีลักษณะธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามเรียกว่า “ป่าพระบาทยางวี” ซึ่งเหมาะแก่การอยู่ค่ายพักแรมของผู้รักธรรมชาติและการผจญภัย การเดินทางไปถึงได้เฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น
แก่งก้อ เป็นบริเวณอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งที่ทำการหน่วยพิทักษ์แห่งชาติที่ มป.2 (แก่งก้อ) ที่บริเวณแก่งก้อ และจัดสร้างที่พักเรือนแพไว้บริการ จากจุดที่พักแก่งก้อซึ่งอยู่ช่วงกลางระหว่างอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ผู้ไปเที่ยวสามารถนั่งเรือชมความงามของหน้าผาหินปูน ทิวทัศน์ที่สวยงามสองฟากฝั่ง และสถานที่ที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย เช่น น้ำตกอุ้มแป น้ำตกอุ้มปาด เกาะคู่สร้าง-คู่สม ผาเต่า ผาพระนอม ผาคันเบ็ด แก่งสร้อย ถ้ำแก่งสร้อย พระธาตุแก่งสร้อย ถ้ำช้างร้อง พระบาทบ่อลม เขื่อนภูมิพล เป็นต้น
ผาแมว เป็นผาสูงชันริมแม่น้ำปิงบรรยากาศสงบร่มรื่น เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดีอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับกิจกรรมไต่หน้าผา
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ที่พักแรม/บ้านพัก บริเวณแก่งก้อ มีเรือนแพพัก 2 หลัง ไว้บริการนักท่องเที่ยว
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ค่ายเยาวชน มีอาคารค่ายเยาวชน สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งอยู่บริเวณทุ่งกิ๊ก
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง



:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพป่าแตกต่างกันไป ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง อีกทั้งยังมีจุดเด่น ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกนาปัง น้ำตกธารสวรรค์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูนางมีเนื้อที่ประมาณ 538,125 ไร่ หรือ 861 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา: มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 2/2537 วันที่ 20 เมษายน 2537 เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูนางได้ เพื่อดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 243/2534 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 ให้ นายวราวุธ อมรทัต นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าไม้สงวนแห่งชาติ ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง จังหวัดพะเยา และบริเวณป่าใกล้เคียงเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือที่ กษ.0713/พิเศษ ลงวันที่ 13 มีนาคม 2534 ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าธรรมชาติที่มีความสวยงาม และมีลักษณะสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสาย เพื่อสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จึงขอกำหนดชื่อ อุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อว่า ที่ กษ.0713(ภน) ใช้ในราชการติดต่อราชการต่างๆ กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วว่า ดอยภูนางเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดของพื้นที่ และเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประกอบกับมีความสำคัญในด้านเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จึงเห็นชอบด้วยที่จะให้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” และใช้รหัสย่อ กษ.0713(ภน) เป็นต้นมา เนื่องจากบริเวณสำรวจบางจุด ไปทับที่ทำกินของราษฎร จึงทำให้เกิดการขัดแย้งในพื้นที่ขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่ที่ประกอบกัน ขั้นตอนของการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินั้นต้องไม่มีปัญหากับราษฎร และได้รับความเห็นชอบจาก องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกำนันในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จึงขอปรับพื้นที่ในส่วนที่จะประกาศตามความเป็นจริง โดยกันในส่วนที่ชาวบ้านทำกินออก และผนวกพื้นที่ที่สมบูรณ์เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามนโยบายของรัฐบาล จากที่สำรวจครั้งแรกมีเนื้อที่ประมาณ 36,500 ไร่ และในการสำรวจเพิ่มเติมมีเนื้อที่ประมาณ 500,000ไร่ ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง กำลังรวบรวมข้อมูล ในการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสูง ทอดตัวในแนวเหนือใต้ ส่วนป่าแม่ยมและป่าน้ำปี้ จะเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวกันคล้ายรูปเกือกม้า โดยมีพื้นที่ราบลุ่มของอำเภอเชียงม่วน อยู่ตอนกลางมีจุดสูงสุดของพื้นที่ทั้งสอง คือดอยภูนาง สูง 1,202 เมตร ทำให้เกิดเป็นต้นน้ำที่สำคัญ ซึ่งจะไหลลงแม่น้ำแม่ยมทั้งหมด สูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร
:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ของทั้งสามอำเภอเท่ากับ 1,093-1,778 มิลลิเมตร
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ยาง ตะเคียน ประดู่ มะค่าโมง ตะแบก มะม่วงป่า มะยมป่า จำปาป่า เลียงมัน ตะคร้อ ตีนนก รวมถึงไม้จำพวกก่อและไม้สนเขาขึ้นปะปนอยู่ สำหรับสัตว์ป่าที่พบโดยทั่วไปได้แก่ เสือปลา หมีควาย หมูป่า เก้ง อีเห็น อ้น กระแต กระรอก นกชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติดอยภูนางหมู่ 6 ต.บ้านมาง อ. เชียงม่วน จ. พะเยา 56160โทรศัพท์ : 0 5448 9202

รถยนต์
ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน-จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ ติดต่อมาทางด้านทิศตะวันออกของป่าแม่ยมฝั่งขวา และตัดผ่านป่าปี้ไปยังอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เป็นเส้นทางที่สะดวก สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาลทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1120 สายอำเภอเชียงม่วน-อำเภอสอง ซึ่งอยู่ต่อจากทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1091 ไปทางตอนใต้ ตัดผ่านป่าปี้ ไปยังอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ใช้ได้ตลอดฤดูกาลทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายอำเภอดอกคำใต้-อำเภอเชียงม่วน ตัดผ่านป่าแม่ยมฝั่งขวา จากเขตตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ไปเชื่อมกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1091 สายอำเภอจุน จังหวัดน่าน ที่บริเวณบ้านสระ ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีระยะทางไปเขตป่าแม่ยม ขวางประมาณ 3.5 กิโลเมตร และเข้าไปบ้านนาบัว หมู่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ประมาณ 10 กิโลเมตร (บ้านนาบัวและบ้านห้วยก้างปลาอยู่ในเขตการปกครองหน่วยเดียวกันแต่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป)
:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ฝั่งต้า ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านไชยสถาน หมู่ที่ 4 ตำบลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีสภาพคล้าย แพะเมืองผี คือ เป็นลักษณะของการกัดเซาะ พังทะลายของดินที่ภูเขาเตี้ยๆ แห่งหนึ่ง ทำให้เกิดรูปร่างที่คงเหลืออยู่ ภายหลังจากการพังทลายอย่างรุนแรงผ่านไปแล้ว มีรูปร่างคล้ายเสาแหลมๆ เรียงรายติดต่อกันเป็นแนวยาวประมาณ 200 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร พื้นที่อยู่บริเวณรอยต่อของป่าน้ำปี้และป่าแม่ยมฝั่งซ้าย-น้ำควรฝั่งซ้าย สภาพพื้นที่เป็นภูเขามีทางลูกรังเชื่อมต่อกับบ้านไชยสถานได้ พื้นที่รอบๆ นอกจากจะมีเขตติดต่อ กับที่ทำกินของราษฎรบ้านไชยสถานบนยอดเขาของฝั่งต้า ยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ และบริเวณพักผ่อนได้ เนื่องจากมีพื้นที่ค่อนข้างราบ มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ และสามารถมองเห็นความสวยงามได้รอบด้าน
น้ำตกธารสวรรค์ น้ำตกธารสวรรค์หรือน้ำตกบ่อเบี้ย ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบ่อเบี้ยหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวามีลักษณะเป็นน้ำตกหิน 4 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นที่มีความสูงมากที่สุด ประมาณ 8 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 2.50 เมตร ชั้นที่ 3 และ 4 สูงประมาณ 2 เมตร มีต้นกำเนิดจากห้วยแม่ปิง ซึ่งประกอบด้วยลำห้วยหลายสายไหลมารวมกัน น้ำตกชั้นที่สวยที่สุดคือ ชั้นที่ 1 ซึ่งตกลงมาจากแผ่นหินปูนที่กว้างประมาณ 150 เมตร สภาพโดยรอบ ๆ จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบชื้น และพื้นที่ทำเลของราษฎรบ่อเบี้ย
น้ำตกนาบัว ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกับบ้านบัว หมู่ที่ 4 ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งอยู่ในเขตป่าแม่ยมฝั่งขวาเป็นน้ำตกหินปูนสามชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร ชั้นที่ 2 อยู่ห่างจากชั้นที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร สูงประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร ชั้นที่ 3 อยู่ห่างจากชั้นที่ 2 ไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร มีต้นกำเนิดมาจากห้วยแม่จั๊งซึ่งมีน้ำไหลตลอด
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เส้นทางเดินเท้านี้จะพาไปสู่ธรรมชาติอันสวยงามของอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดไว้ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ น้ำตกห้วยต้นผึ้ง และห้วยยั๊วะ
น้ำตกห้วยต้นผึ้ง เป็นน้ำตกขนาดเล็กมี 3 ชั้น ชั้นที่ 3 สูงประมาณ 40 เมตร และมีน้ำไหลตลอดปี การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1251 สายดอกคำใต้-เชียงม่วน เมื่อผ่านสามแยกบ้านบ่อเบี้ยไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบกับทางเข้าน้ำตกซึ่งเป็นทางเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะพบกับธารน้ำตกชั้นเล็กชั้นน้อย
ถ้ำใหญ่ผาตั้ง เป็นถ้ำลึกประมาณ 800 เมตร มีหินงอกหินย้อยงดงามอยู่ทั่วไป บริเวณผาตั้งยังมีถ้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่ง มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภน.1 (ถ้ำผาตั้ง) คอยดูแลและอำนวยความสะดวก ถ้ำใหญ่ผาตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปงไปประมาณ 23 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบ้านผาตั้งไปอีก 1 กิโลเมตร
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านสามารถนำเต็นท์และอาหารไปเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

อุทยานแห่งชาติภูซาง



:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ป่าน้ำเปี๋อยและป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 178,049.62 ไร่ หรือ 284.88 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา: เดิมจัดตั้งเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว (กฎกระทรวงฉบับที่ 966 พ.ศ. 2541 ) ในท้องที่ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2533 เนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย สำรวจเสนอ และกองบัญชาการหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามหนังสือที่ กส 0809 (ชร) /1975 ลงวันที่ 5 เมษายน 2522 และ กห 0334 (ฉก.พล.) /1819 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีหนังสือที่ นร 5106/2616 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้กรมป่าไม้จัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกภูซาง มีเนื้อที่ประมาณ 73,000 ไร่ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2534 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 ทำการสำรวจ และเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1316/2534 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2534 สั่งการให้ นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการ สำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลเวียง ตำบลแม่ลาว ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 186,512 ไร่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง 440-1,548 เมตร ติดเขตแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าหลายชนิด เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้แจ้งว่าตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2536 ให้ ททท. ประสานงานกับกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณาพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติใหม่ กรมป่าไม้จึงมีหนังสือ กษ 0721.03/7244 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูซาง สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0204/11694 ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2543 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำ หย่วนและป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 98 ของประเทศไทย
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
เป็นเทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 440 - 1,548 เมตร โดยมียอดดอยผาหม่นเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาว น้ำเปื๋อย น้ำบง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ
:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง จะมีฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ตุ้มเต๋น มะไฟ ยมหอม จำปีป่า จำปาป่า กระบาก ตะแบก มะหาด ประดู่ แดง สัก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะคร้อ สมอพิเภก กระบก ก่อ มะม่วงป่า รวมทั้งไผ่ กล้วยป่า หวาย และเฟิน เป็นต้น สัตว์ป่ามีเลียงผา กวางป่า เก้ง ลิง หมูป่า กระจง ค่าง ชะนี กระต่าย แมวป่า เม่น อีเห็น ชะมด กระรอก หมาไน เต่าปูลู และนกชนิดต่างๆ
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูซางต.ภูซาง อ. กิ่งอำเภอภูซาง จ. พะเยา 56110โทรศัพท์ : 0 5440 1099

รถยนต์
จากตัวเมืองพะเยา ไปตามถนนสายพะเยา-อำเภอจุน-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 104 กิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงราย ไปตามถนนสายเชียงราย-อำเภอเทิง-อำเภอเชียงคำ-น้ำตกภูซาง รวมระยะทาง 124 กม.
:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเชียงคำ กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ถ้ำผาแดง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความลึกประมาณ 450 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตา ถ้ำผาแดงอยู่บนภูเขาหินปูนซึ่งยังมีถ้ำอีกหลายแห่ง การเดินทางจากอำเภอเชียงคำใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1210 จนถึงพระธาตุดอยคำ แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภซ.1 (ผาแดง)
ดอยผาดำ ดอยผาดำ เป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาขนาดใหญ่สวยงาม
ถ้ำน้ำดั้น ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลาง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก ลักษณะเด่นของถ้ำน้ำดั้นคือ บริเวณปากถ้ำจะมีลำธารขนาดใหญ่ (ลำห้วยน้ำดั้น) ไหลหายลงไปในถ้ำ อดีตเคยเป็นที่หลบซ่อนของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
บ่อน้ำซับอุ่น เป็นบ่อน้ำซับแหล่งต้นน้ำของน้ำของน้ำตกภูซาง อุณหภูมิประมาณ 35oC ขณะที่อุณหภูมิอากาศ 10 oC เป็นบริเวณที่ธารน้ำอุ่นผุดขึ้นจากใต้พื้นดิน และมีสภาพเป็นพรุน้ำจืดที่เต็มไปด้วยพรรณไม้แปลกตาซึ่งหาชมได้ยาก
น้ำตกภูซาง เป็นน้ำตกที่มีน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวที่พบในประเทศไทย อุณหภูมิสูงถึง 35 -36oC น้ำตกตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยผาหม่น เกิดจากสายน้ำอุ่นและปราศจากกลิ่นกำมะถันที่ไหลมาจากผาหินปูนสูง 25 เมตร ใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตที่ใสราวกับกระจก จึงเหมาะสำหรับการลงแช่น้ำให้อบอุ่น สบายตัว เหนือน้ำตกภูซางมีเส้นทางชมป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 1 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยโป่งผา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาดอยผาหม่น และเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำเปื๋อย มีน้ำไหลตลอดปี น้ำตกมีทั้งหมด 19 ชั้น และมีลำห้วยแยกออกมาเป็นน้ำตกอีก 2 สาย แต่ละชั้นของน้ำตกมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป ระยะทางจากชั้นแรกถึงชั้นบนสุดประมาณ 1,500 เมตร ใช้เวลาในการเดินชมน้ำตกตลอดสายประมาณ 3 ชั่วโมง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 -900 เมตร น้ำตกห้วยโป่งผายังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย
ถ้ำน้ำลอด อยู่ห่างจากถ้ำผาแดงประมาณ 10 เมตร เป็นถ้ำขนาดเล็กที่มีธารน้ำไหล ความลึกของถ้ำประมาณ 250 เมตรและมีระดับน้ำลึกประมาณ 0.5-1 เมตร
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร อุทยานฯ มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง



อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา
11 - 12 สิงหาคม 2551 ลูกพาแม่เที่ยวอุทยานแห่งชาติ ไม่เสียค่าบริการผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ (เฉพาะรายบุคคล ไม่เกิน 5 คน)

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ เชียงราย ลำปาง และพะเยา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจากวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้ำตกปูแกง และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีสภาพธรรมชาติและจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตรกองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/3430 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2524 เสนอกรมป่าไม้ เพื่อขอยกฐานะวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และวนอุทยานน้ำตกปูแกง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันและอยู่ในป่าเทือกเขาดอยหลวงด้วยกันเป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง โดยได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1578/2524 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ให้ นายธวัชชัย เสถียรกาล นักวิชาการป่า 4 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นและทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งอุทยานแห่งชาติดอยหลวงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ดล)/5 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2525 ส่งรายงานการสำรวจ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรวมวนอุทยานทั้งหมด จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาจังหวัดลำปางและป่าไม้เขตลำปางได้ขอให้กรมป่าไม้จัดบริเวณวนอุทยาน น้ำตกวังแก้ว จังหวัดลำปาง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2526 ที่กำหนดให้จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการสำรวจปรากฏว่า มีพื้นที่เป็นบริเวณติดต่ออยู่ในเทือกเขาดอยหลวง ซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกันทั้งหมดและเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นที่ 1 A ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำห้วยหลายสายซึ่งไหลลงสู่กว้านพะเยา พื้นที่ที่สำรวจมีธรรมชาติและจุดเด่นที่สวยงามมากมาย เหมาะสำหรับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 เห็นชอบในหลักการที่จะให้ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวงต่อไปได้ ทั้งนี้ให้กันพื้นที่บริเวณที่ราษฎรถือครองออกเสียก่อน โดยให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12มิถุนายน 2527 คือ ให้ยึดถือภาพถ่ายทางอากาศปี 2510 เป็นเกณฑ์พิจารณา กองอุทยานแห่งชาติ จึงได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องที่ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อดำเนินการออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ลาวฝั่งขวา ป่าแม่ส้าน และป่าแม่ใจ ในท้องที่ตำบลแม่สรวย ตำบลแม่พริก ตำบลศรีถ้อย ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย ตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว ตำบลสันกลาง ตำบลป่าหุ่ง ตำบลม่วงคำ ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน ตำบลสันสลี ตำบลเวียง ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่างิ้ว ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตำบลป่าแฝก ตำบลเจริญราษฎร์ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ป่าขุนวัง แปลงที่สอง ป่าขุนวังแปลงที่สาม ป่าขุนวังแปลงที่หนึ่ง ป่าแม่โป่ง และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ และตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง และป่าแม่ต้ำ ป่าแม่นาเรือ ในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ ตำบลท่าจำปี ตำบลบ้านต้ำ ตำบลบ้านต๋อม ตำบลบ้านสาง ตำบลบ้านตุ่น ตำบลแม่นาเรือ อำเภอพะเยา จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 16 เมษายน 2533 มีพื้นที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 61 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยค่อนข้างสูงขึ้นจากทางเหนือลงมาทางใต้ โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดดอยหลวง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,694 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสภาพดินเป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำวังและกว๊านพะเยา
ลักษณะภูมิอากาศ
ประกอบไปด้วยฤดูกาล 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึงไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงห์โต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา กระดุมเงิน สัตว์ป่าประกอบด้วย เลียงผา เก้ง กวางป่า หมูป่า หมี อีเห็น ชะมด บ่าง ชะนี ลิงกัง เสือดาว แมวดำ หมาใน กระต่ายป่า กระรอกบิน ตะกวด เต่าปูลู งูชนิดต่างๆ รวมไปถึงไก่ป่า นกเงือก นกพญาไฟพันธุ์เหนือ นกปีกลายสก็อต นกกางเขนหัวขาวท้ายแดง นกศิวะปีกสีฟ้า และนกย้ายถิ่นหายาก เช่น นกกินปลีหางยาวคอสีดำ และนกอื่นมากมายกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแมลงมากมายหลายชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ผีเสื้อกลางคืน กว่างห้าเขา ผีเสื้อใบไม้ใหญ่ ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อถุงทอง เป็นต้น
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติดอยหลวง : 71,673 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 26 มิถุนายน 2551
อุทยานแห่งชาติดอยหลวงต.แม่เย็น อ. พาน จ. เชียงราย 57280โทรศัพท์ 0 5316 3363 (VoIP), 08 1960 2456 อีเมล reserve@dnp.go.th

พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย


ข้อมูลทั่วไป :
ตั้งอยู่ ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย บนดอยที่ระดับความสูง 1,415 ม. จากระดับน้ำทะเล มีอากาศเย็นสบาย เดิมเป็นจุดสำคัญของการท่องเที่ยว ก่อนที่จะมีโครงการพัฒนาดอยตุง เส้นทางขึ้นสู่องค์พระธาตุสูงชันและแคบมาก ต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง
พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำปีกุน
คนไทยโดยทั่วไป มีความเชื่อเรื่องปีนักษัตร ที่สัมพันธ์กับปีเกิด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ยังมีความเชื่อเรื่องปีเกิดกับการบูชาพระบรมธาตุด้วย ใครเกิดปีไหนก็ควรหาโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เช่น คนเกิดปีฉลู ควรไปไหว้พระธาตุลำปางหลวง คนเกิดปีมะแม ไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ฯลฯ
พระธาตุดอยตุงเป็นพระธาตุของคนเกิดปีกุน มีคำบูชาพระธาตุ ว่า...
อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ กัสสะปะ โคตะมะราชะคะเห จะระติปิณะฑายะ มิถิลา ยะนะคะเรสิ จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา พุทธาเน อิมัสะมิง ปัพพะตาคิริ ปะทะกังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ ราชะคะเห อิมัสะมิง ฐาเนนะสิทิสิริ สุภะปะวะรังมะคะโล ตะโมลากะถา มุนิราชะ สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง วิชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพะทา
ประวัติ :
ตามตำนานระบุว่า พระธาตุดอยตุงเป็นเจดีย์แห่งแรกของล้านนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1454 โดยพระมหากัสสะปะเถระ และพระเจ้าอุชุตราช กษัตริย์ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคือ เมืองล่ม อ.แม่จัน) ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) บรรจุในพระเจดีย์ สถิตยังดอยแห่งนี้ และได้ปัก "ตุง" ขนาดใหญ่บูชา ความยาว 1,000 วา ปลายชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใด ให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ ดอยลูกนี้จึงมีชื่อว่า "ดอยตุง" ตราบเท่าทุกวันนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัย ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้
การเดินทาง :
รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางขึ้นดอยตุงสายใหม่ เมื่อผ่นทางแยกซ้ายไปพระตำหนักดอยตุง ถึงหลัก กม.14 จะมีทางแยกซ้าย ถ้าขับตรงไปจะขึ้นตรงสู่พระธาตุดอยตุง ทางค่อนข้างแคบและชันมาก ระยะทาง 3 กม. ถ้าไปทางแยกซ้ายมือ จะเป็นทางอ้อม ผ่านสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง ทางแยกไปดอยช้างมูบ อ.แม่สาย และวัดน้อยดอยตุง ตรงหลัก กม.23 ระยะทาง 10 กม. จากวัดน้อยดอยตุง ต้องขับขึ้นดอยไปตามทางชัน แคบและคดเคี้ยว อีก 1 กม. บริเวณนี้เรียกว่าสวนเทพารักษ์ ต้องขับด้วยความระมัดระวังเพราะอาจมีรถสวนลงมาได้
สิ่งที่น่าสนใจ :
พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ เมื่อ 1,000 ปีก่อน

ดอยหัวแม่คำ



ข้อมูลทั่วไป :
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง ห่างจากบ้านเทอดไทย 35 กม. เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่ ตั้งอยู่บนสันเขา ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า มีทิวทัศน์สวยงาม พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตวนอุทยานดอยหัวแม่คำ ช่วงปลายเดือน พ.ย.-ธ.ค. ดอกบัวตองจะบานเต็มดอย
ช่วงเวลาที่เหมาะสม หน้าหนาว ตั้งแต่เดือน พ.ย.-ม.ค.
กางเต็นท์พักแรมได้ที่วนอุทยานดอยหัวแม่คำ
ติดต่อโครงการเกษตรที่สูงดอยหัวแม่คำ ตู้ ปณ.53 แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย 57110 โทร.053-7652776 , 053-918-101
บ้านเทอดไทย เป็นชุมชนชาวจีนฮ่อขนาดใหญ่ บนดอยสูงชายแดนไทย-พม่า เป็นศูนย์กลางของ อ.แม่ฟ้าหลวง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ชา เดิมเป็นฐานที่มั่นของกองกำลังขุนส่า ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ต่อมากองทัพไทยเข้าทำการผลักดันออกไปจนสำเร็จ ปัจจุบันบ้านเทอดไทย เป็นศูนย์กลางเช่าเหมารถ ซื้อหาเสบียงจุดสุดท้าย สำหรับไปเที่ยวดอยหัวแม่คำ
ประวัติ :
เป็นหมู่บ้านชาวเขาที่อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า ในอดีตมีปัญหาเรื่องกองกำลังชนกลุ่มน้อย และขบวนการค้ายาเสพติด ภายหลังมีการผลักดันกองกำลังขุนส่าออกไป จึงเริ่มกลับคืนสู่ความสงบ แต่ยังมีปัญหายาเสพติด แต่เนื่องจากมีทิวทัศน์สวยงาม จึงมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชม โดยเน้นที่ความเป็นทุ่งบัวตองแห่ง จ.เชียงราย
การเดินทาง :
รถยนต์ส่วนตัว ใช้ถนน รพช. ผ่านบ้านเทอดไทย ไปประมาณ 1 กม. เลยทางแยกเข้า รพ.แม่ฟ้าหลวงไปเล็กน้อย มีทางแยกซ้ายมือไปดอยหัวแม่คำ ระยะทาง 35 กม. ผ่านบ้านสามัคคีพัฒนา บ้านปางมะหัน ช่วง 25 กม. แรก เป็นถนนลาดยาง แต่เป็นหลุมบ่อ และคดเคี้ยวขึ้นดอย จนถึงบ้านปางมะหัน ถนนเป็นลูกรังอัดแน่นอีก 10 กม. เส้นทางสูงชันและลื่นมาก ในหน้าฝน ช่วง 1 กม. สุดท้ายไปยังที่ทำการวนอุทยานดอยหัวแม่คำถนนชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
รถประจำทาง ใช้บริการรถสองแถวสีฟ้าสายป่าซาง-เทอดไทย ท่ารถอยู่ที่บ้านป่าซาง มีรถตั้งแต่ 08.00-17.00 น. ค่ารถ 50 บาท จากนั้นต้องเช่าเหมารถสองแถวที่ท่ารถตลาดบ้านเทอดไทย (ท่ารถเดียวกัน) มีรถไปเฉพาะหน้าหนาว ค่าเช่าเหมาไปกลับ 1 วันเต็ม 500-600 บาท หากค้างคืนต้องตกลงราคาใหม่
สิ่งน่าสนใจ :
เที่ยวหมู่บ้านชาวเขา ละแวกบ้านหัวแม่คำเป็นหมู่บ้านชาวเขากระจัดกระจายจำนวนสี่เผ่า คือ อาข่า ลีซอ ลาหู่ และม้ง โดยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ระหว่างเดือน ธ.ค.-ม.ค. จะตรงกับการจัดงานปีใหม่ของแต่ละเผ่า ชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่สวยงาม
ชมทุ่งบัวตอง และดอกไม้เมืองหนาว ดอยหัวแม่คำสูง 1,850 ม. จากระดับน้ำทะเล เป็นป่าเสื่อมโทรม ปกคลุมด้วยดอกบัวตอง ซึ่งจะบานทั่วขุนเขา ในช่วงปลายเดือน พ.ย.-ธ.ค.
นอกจากนี้ยังมีสถานีปลูกไม้เมืองหนาว มีไม้ตัดดอก เช่น คาเนชั่น แกลดิออรัส กุหลาบ ฯลฯ ให้ชมและเลือกซื้อด้วย
น้ำตกหัวแม่คำใหญ่ อยู่สุดปลายเส้นทาง ห่างจากบ้านหัวแม่คำไปเล็กน้อย เป็นพื้นที่รับผิดชอบของวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เส้นทางช่วงนี้ค่อนข้างชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ น้ำตกหัวแม่คำ ต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 200 ม. เป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นลงมาจากหน้าผาสูง ประมาณ 20 ม. น้ำเย็นจัด เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนในละแวกดอยหัวแม่คำ

ภูชี้ฟ้า



ข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานภูชี้ฟ้าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์

ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า เพียงพอน กระรอกบิน กระรอก กระแต

นกที่พบเห็นได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง

สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ

ปลาที่พบเห็นได้แก่ ปลาแก้ม ปลาข้างลาย ปลาก้าง ปลาขาว ปลาซิว

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานภูชี้ฟ้า ต.ปอ อ. เวียงแก่น จ. เชียงราย 57310
โทรศัพท์ 0 5371 4914 โทรสาร 0 5371 1961 อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทาง

รถยนต์
ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้

จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า
ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น

เส้นทางสายนี้เป็นทางลาดยาง 104 กิโลเมตรและทางดินลูกรัง 40 กิโลเมตร ผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งได้แก่
น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และด่านบ้านฮวก หมู่บ้านชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่

จากภูชี้ฟ้าสามารถเดินทางไปยังดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจากดอยผาตั้งยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย

ที่พัก-บริการ
วนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่หัวหน้าวนอุทยานภูชี้ฟ้าโดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย โทร. (053) -714914 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-25614292 -3 ต่อ 719 ในวันและเวลาราชการ

ผมได้ไปเจอบทความจากเว็บไซต์ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/tour เขาเดินทางไปภูชี้ฟ้าขับรถไปเอง จึงหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ดีมากๆ เห็นภาพเลย เพื่อนเข้าไปอ่านเรื่องอื่นๆ จากเว็บเขาได้ครับ ข้อมูลดังนี้

ใกล้จะถึงฤดูหนาวแล้ว ใครยังไม่เคยไปขอให้พยายามไปให้ได้ ไม่งั้นจะชวดได้พบเห็นความงดงามอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือของไทย นั่นคือ "ภูชี้ฟ้า" อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย แต่หากดูจากแผนที่แล้วน่าจะอยู่ในเขต กิ่งอำเภอ ภูซาง ซึ่งตั้งขึ้นใหม่และอยู่ไม่ไกลกันกับ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (เดิมคือ จังหวัดเชียงราย) ความงดงามหากจะเรียกตามศัพท์วัยรุ่นคงต้องบอกว่า เป็นธรรมชาติที่งามอย่างสุดสุดเลยทีเดียว ผมเองก็เดินทางท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศมามากพอสมควร แต่ขอให้คำสัญญาว่ายังไม่เคยเห็นทะเลหมอกที่ไหน งดงามเหมือนขึ้นไปชมบนยอดภูชี้ฟ้าแห่งนี้เลย งามจริง สายหมอกไม่ได้มาเป็นสาย แต่ยังกับน้ำทะเลและยังเคลื่อนไหวหรือไหลได้อีกด้วย จึงงดงามสุดที่ผมจะบรรยายได้ แต่การไปเที่ยวชมทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่ภูชี้ฟ้านั้นจะงดงามสุดสุด ก็อยู่ในระยะเวลา ๓ - ๔ เดือน คือตั้งแต่ พฤศจิกายน ซึ่งยังไม่แน่นักว่าจะงามสุดสุด ถึงเดือนกุมภาพันธ์ยิ่งหนาวยิ่งสวยว่างั้นเถอะ
แต่หากจะดูแต่ความงดงามของดวงอาทิตย์ขึ้นก็ไปชมได้ทุกฤดูกาล ส่วนทะเลหมอกนั้นเอากันสวยจริงและแน่นอนจริง ๆ คือธันวาคม - กุมภาพันธ์ และหากไม่ใช่หนุ่มสาวหรือวัยที่แข็งแรงจริง ๆ แล้ว อย่าเสี่ยงไปแบบผม คือผมอุตริไปตอนเขาหยุดระยะยาวในวันปีใหม่ คนหนุ่มคนสาวเขาคิดอย่างผม คิดแบบคนที่ยังไม่เคยไป หยุดนานจะได้ไปเที่ยวหลายแห่งสนุกดี เมื่อความคิดตรงกันเป็นพัน เป็นหมื่นคน พอวันปีใหม่ขึ้นไปรับปีใหม่ ชมทะเลหมอก ชมอาทิตย์ยามเช้าของวันปีใหม่ที่ภูชี้ฟ้า จึงมีคนแห่ขึ้นไปชมมากมายหลายพันคน จนพื้นที่ที่จะยืนได้ตามธรรมชาติบนภูชี้ฟ้าแทบจะขยับตัวไม่ได้ เห็นสีดำตัดกับขอบฟ้าเดาไม่ถูก แต่พอแสงอาทิตย์สาดส่องมาให้เห็นกันชัด ๆ กลายเป็นหัวคนที่ยืนกันเต็มไปหมดทั้งสิ้นจึงขอให้วางแผนให้ดี ไปก่อนหรือหลังวันหยุดยาวที่เรียกกันว่า ลอง วีคเอนด์ จะดีที่สุด และต้องเตรียมการกันนานอีกอย่างคือ ที่พัก เพราะอย่าว่าแต่จะหาบ้านพักเลย เอาแต่พื้นที่ดินที่จะกางเต็นท์นอนทั้งที่เสียค่าเช่าหรือฟรียังแทบจะหาไม่ได้ และถึงหาได้หากไม่เตรียมการไว้ให้ดีก็จะขาดแคลนน้ำดื่ม เพราะจะหาซื้อยาก ส่วนน้ำอาบนั้นสำหรับคณะกางเต็นท์ไม่ต้องพูดยกยอดเอาไว้มื้อหน้าได้เลย ผมไปมาแล้ว ๗ เดือน เก็บเรื่องเอาไว้ก่อน เขียนเอาจวน ๆ จะหนาวเพื่อให้ท่านผู้อ่านไปเที่ยวภูชี้ฟ้า ได้เตรียมตัว เตรียมร่างกายกันอย่างมีเวลา รวมทั้งเตรียมยานพาหนะด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถส่วนตัวที่ ซี.ซี.ต่ำ เช่นผม กล้าหาญเอารถขนาด ๑๖๐๐ ซี.ซี. ขึ้นไปได้จนถึงที่พักซึ่งก็อยู่ห่างจากยอดภูชี้ฟ้าเพียง ๖ กม.
ผมออกเดินทางจากกรุงเทพ ฯ โดยทางรถยนต์หรือรถขนาดกระป๋องของผม ซึ่งรถคันนี้ขึ้นเหนือสุดของประเทศมาแล้วหลายเที่ยว ใต้สุดลงไปถึงภูเก็ต อีสาน คงจะครบทุกจังหวัด ตะวันออก ตะวันตกนั้นไม่ต้องพูดใกล้นิดเดียวและที่สำคัญคือ ไต่ขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยปุย ไปยังพระพุทธบาทสี่รอย ที่อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่มาได้แล้ว จึงนับว่าทรหดเอาเรื่อง อย่ามาถามผมว่ายี่ห้ออะไร เดี๋ยวรถเขาจะขายดีเกินเหตุ ยี่ห้อนี้ไปติดใจตอนที่ไปตระเวนขับรถในนิวซีแลนด์เมื่อปีที่แล้ว กลับมาเลยตัดใจซื้อแต่ ซี.ซี. ต่ำกว่าคันที่เช่าขับที่นิวซีแลนด์
ไปกับคณะใหญ่พอสมควร แต่ไม่ได้ตั้งต้นจากจุดเดียวกัน นัดกันที่ปลายทางเลย คือ ภูชี้ฟ้า โดยจะพักที่อุกฤษ ฟาร์มฮิลล์ ๐๑ ๙๙๒๘๓๘๔ อยู่เลยกิ่งอำเภอภูซางขึ้นไป ก่อนถึงภูชี้ฟ้าประมาณ ๖ กม. ชาวคณะที่คนขับแต่ละท่านนั้นหนุ่มกว่าผมร่วม ๒๐ ปี แต่เขารวมคณะกันนัดเจอกันที่แถว ๆ อยุธยาก่อนแล้วขับตามกันไปทั้ง ๓ คัน มีโทรศัพท์มือถือคอยติดต่อกัน รวมทั้งติดต่อกับผมด้วย ผมเองมีกำลังสู้คนหนุ่มเขาไมไหว จึงออกจากกรุงเทพ ฯ ตั้งแต่ ๐๕.๓๐ และไม่พักกินอาหารเช้า จะพักก็ตอนเข้าห้องสุขา ตามปั๊มหรือเติมน้ำมันเท่านั้น คือเป็นการหยุดไปในตัว และเป็นวิธีการขับรถทางไกลของผม ขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินไปคือไม่เกิน ๑๒๐ กม. ต่อชั่วโมง พักให้น้อยที่สุด ง่วงเมื่อไรอย่าฝืนขับจอดข้างทางนอนหลับทันที หลับให้สนิทสิบนาทีเท่านั้นจะไปได้อีกหลายร้อยกิโลเมตร ในรถต้องมีของกินติดไว้บ้าง เช่น กาแฟชงใส่กระติกไป ไม่ต้องแวะร้านกลางทางจะเสียเวลา ขนมนิดหน่อย แซนวิชยิ่งดี ไปไกลแสนไกล จะพักทานมื้อเดียวคือมื้อเที่ยง แต่ก็ไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ผมจึงขับรถไปเชียงแสนได้อย่างสบาย ๆ ในวันเดียว หรือภูเก็ต นครศรีธรรมราช ก็เช่นเดียวกัน ท่านที่ยังหนุ่มสาวก็ต้องบอกว่าใคร ๆ ก็ขับได้ แต่ผมว่าลองมาอายุเท่าผมเหลืออีกไม่กี่สิบปีก็จะถึงร้อยดูบ้าง หากไม่เตรียมการเตรียมร่างกายให้ดี ๆ เราจะเป็นนักเที่ยวไป กินไป ไม่ได้ และยิ่งผมไปประกาศว่าหากขับรถไม่ไหวเมื่อไหร่ ผมจะเลิกเขียน เที่ยวไป กินไป ซึ่งผมเขียนในต่วยตูนมาตั้งแต่ฉบับเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ครบ ๒๔ ปีบริบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม ๒๕๔๔ และขึ้นปีที่ ๒๕ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ นี้ พร้อมกับต่วยตูนก็กำลังขึ้นปีที่ ๓๑ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้เช่นกัน เลยเอามาคุยเสียเลย และยิ่งเมื่อ ๒ - ๓ วันมานี้ ไปเทศกาลงานท่องเที่ยวที่ศูนย์สิริกิติ์ เห็นหนังสือท่องเที่ยวออกมาหลายเล่มดี ๆ ทั้งนั้น ก็ดีใจด้วยที่การท่องเที่ยวภายในประเทศก้าวหน้ามากขึ้น และพวกเราในทีมนักเขียนต่วยตูน ๒ คน "ผ และ ม." ก็ออกหนังสือท่องเที่ยวมาเล่มหนึ่งชื่อ "เที่ยวไทย" ให้คุณชัยชนะ ลุงชาตรี และลุงโอภาส ไปช่วยเขียนด้วย ใครเจออุดหนุนด้วยครับ และตอนนี้ได้ทราบว่ารัฐบาล คิดใหม่ ทำใหม่ จะตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวก็ยิ่งดีใจ เพราะท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านหนังสือที่ผมเขียนมาคงจะผ่านตาบ้างว่าเราควรจะต้องตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา สมัยที่ผมเขียนในต่วยตูนใหม่ ๆ เป็นช่วงที่ผมไปราชการที่ประเทศอิสราเอลบ่อยครั้งรวมแล้วไปถึง ๖ ครั้ง เมื่อ ๒๖ ปีที่แล้ว อิสราเอลมีกระทรวงการกีฬาและการท่องเที่ยวแล้ว ผมก็เอามาเขียนเล่าให้ฟัง และขอให้ภาครัฐบาลมองเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวที่จะนำรายได้มหาศาลมาสู่ประเทศไทย เรียกว่าได้เงินใช้กันตั้งแต่แม่ค้าขายขนมครก ขายกล้วยแขกไปจนถึงเจ้าของกิจการโรงแรม กิจการร้อยล้านพันล้าน และผมเองได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ไม่สามารถเสนอให้ตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวในการประชุมคณะที่ปรึกษาได้ ดังนั้นเมื่อได้ยินว่าจะมีการตั้งกระทรวงเกี่ยวกับวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว จึงดีใจออกนอกเรื่องนอกราวไปจากภูชี้ฟ้าก็ขออภัยด้วย

ผมขับรถรวดเดียวไปจนถึงลำปางเมื่อเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ ยังไม่หิวจึงตั้งใจจะไปกินอาหารเอาแถวอำเภองาว ไม่แวะกินกลางวันที่ลำปาง และที่ลำปางนี้ยังไม่ได้เล่าให้ฟัง วันนี้ไม่ได้แวะชิมแต่ก็ชิมของเขาบ่อย ๆ ถือโอกาสเล่าแทรกไว้ตรงนี้ ร้านอาหาร "รสนานา" ร้านนี้คนเป็นใบ้ หูหนวก ก็ไปสั่งอาหารได้ เพราะหากไม่พูดไม่จาอะไรเขายกอาหารมาให้ทั้งชุด หากไปกันน้อยคน มาชุดเล็กมี ๕ อย่าง หลายคนมาชุดใหญ่ คือ ๕ อย่าง แต่จานโตกว่าแถมสลัดอีก ๑ จาน ลายแทงไปร้านรสนานา ไปดังนี้ ไปลำปางก็จะถึง อ.เกาะคาก่อน ซึ่งอำเภอนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๗ กม. ก็วิ่งรถต่อไปเพื่อเข้าเมืองลำปาง จะผ่านป้ายทางซ้ายมือบอกว่า ลำปาง ๗ กม. พบแยกสัญญาณไฟแยกที่หนึ่ง ให้วิ่งตรงต่อไปพบสัญญาณไฟแยกที่สอง (หากเลี้ยวซ้ายจะไปเชียงใหม่) ให้ตรงต่อไป ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟ ผ่านบิ๊กซี ทางซ้ายมือ จะพบแยกสัญญาณไฟที่ ๓ วิ่งตรงต่อไปพบสี่แยกสัญญาณไฟที่ ๔ ให้เลี้ยวซ้าย จะผ่านโรงแรมลำปาง เวียงทองทางซ้าย วิ่งผ่านโรงแรมไปพบสี่แยกให้เลี้ยวขวา วิ่งต่อไปสัก ๕๐ เมตร พบสี่แยกมีสัญญาณไฟ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสวนดอก วิ่งไปสัก ๕๐ เมตร ร้านรสนานาจะอยู่ทางซ้ายมือเป็นร้านขนาด ๒ ห้อง เดิมทีเดียวเขาขายครบชุดมี ๕ อย่าง คือ เป็ดพะโล้ กลิ่นหอมนุ่ม ขาหมูพะโล้ จะรองก้นจานมาด้วยผักกาดดองเปรี้ยว เข้ากันดีนัก หรือไม่สะใจก็สั่งเพิ่มว่าเอา อุ้งตีนหมูอีกสักจาน (สั่งคากิไม่แน่ว่าจะได้กิน) หมูผัดพริก จานเด็ดยกให้ ไส้กรอกไข่เค็ม หากไปกันเกิน ๒ คน จานนี้ต้องสั่งเพิ่มไม่งั้นแย่งกันกิน ดังนั้นคนไปกินหากไปนั่งแล้วไม่พูดไม่จาก็ยกมาให้เอง หากพูดจากันก็สั่งเพิ่มลดเอาได้ตามใจชอบ และปิดท้ายด้วยแกงจืดสาหร่ายหมูสับ อิ่มแล้วที่หน้าร้านเขามีคุ๊กกี้ธัญญพืชอร่อยมาก กินกับกาแฟดีนัก

จากลำปาง งาว จากงาวต่อไปยังจังหวัดพะเยา พอถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ เลี้ยวขวาตรงต่อไปอีก ๙ กม. จะถึงอำเภอดอกคำใต้ จากดอกคำใต้ต่อไปยังอำเภอเชียงคำ ฤดูนี้สองข้างทางมักจะมีดอกทองกวาวสีสดบานให้พบอยู่ตามข้างทาง พอถึงอำเภอเชียงคำอย่าเข้าอำเภอให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนสายที่ไปอำเภอเทิง จากนั้นจะพบทางแยกขวาเพื่อต่อไปยังอำเภอภูซาง ซึ่งมีวนอุทยานภูซาง มีน้ำตกอยู่ข้างทางรถวิ่ง จากกิ่งอำเภอภูซางจะถึงบ้านฮวก ซึ่งเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว สมัยที่ผมทำงานยุทธศาสตร์พัฒนาตามชายแดน เมื่อไปเยี่ยมหมู่บ้านนี้ซึ่งสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่พัฒนาแล้ว และต่อจากนั้นไปจนกระทั่งถึง ผาตั้ง ล้วนแต่เป็นหมู่บ้านที่กำลังจัดตั้งใหม่ตามแนวชายแดน ไทย - ลาว หมู่บ้านที่ลงชื่อด้วยไทย หรือคำว่าไทย จะอยู่ในกลุ่มหมู่บ้านตั้งใหม่ เช่นชื่อ บ้านไทยสามัคคี บ้านพิทักษ์ไทย เป็นต้น ที่บ้านฮวกนี้ได้เคยขอให้มีน้ำประปาของหมู่บ้าน ซึ่งผมก็สามารถทำให้ได้ด้วยการเสนอแนะจากเลขานุการกรมอนามัย ซึ่งไปร่วมในคณะ บอกว่ากรมอนามัยนั้นมีงบประมาณทำประปาภูเขา คือต่อจากน้ำตกเข้ามายังหมู่บ้านได้ ไม่ค่อยมีใครรู้จักใช้งบนี้ด้วย คืนนั้นกำลังนั่งก๊งกันที่เชียงคำพอสักสามทุ่ม เลขา ฯ เดินยิ้มแฉ่งมาบอกว่า อธิบดีอนุมัติงบประมาณกรมอนามัย ให้สร้างประปาภูเขาให้บ้านฮวกแล้ว ต่อจากนั้นอีกไม่กี่เดือน บ้านฮวกซึ่งอยู่บนเขา มีน้ำตกอยู่ไกลออกไปหลายร้อยเมตร ก็มีท่อประปาต่อมาถึงหน้าบ้านของทุกบ้าน และอีกหลายเดือนต่อมา ผบ.ทบ.ในขณะนั้นหรือ รมว.กลาโหมในขณะนี้ไปตรวจเยี่ยมชายแดน ไปเปิดน้ำประปาภูเขาของบ้านฮวกดู ตะโกนด้วยความประหลาดใจว่าน้ำประปาที่นี่แรงกว่าบ้านเราอีก ซึ่งต้องถือว่าเป็นผลงานร่วมกันระหว่างกองทัพบก กับกรมอนามัย ต่อจากนั้นผมก็ติดใจของบนี้จากกรมอนามัยไปทำประปาภูเขาอีก ๒ - ๓ ที่ และบ้านฮวกสมัยนั้นมีร้านสหกรณ์หมู่บ้านสินค้าขาย มีแยะเพราะลาวเดินข้ามมาซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์ ก็เลยช่วยจัดการให้เขาเอาโรงสีที่เลิกกิจการแล้วทำที่พัก และอนุญาตให้น้องลาวที่เข้ามาซื้อของให้นอนพักได้ แต่ห้ามล้ำเกินเขตกลางหมู่บ้าน เมื่อก่อนซื้อของแล้วต้องเดินกลับ อดกินอาหารอร่อย ๆ ค่าที่พักเก็บคืนละ ๑๐ บาท ซื้อของกันแล้วก็กินอาหารที่หมู่บ้านทำขาย ก๊งกันสนุกไป นี่คือเรื่องของบ้านฮวกเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว ยังไม่มีชาวกรุงคนไหนที่เคยไปเที่ยวภูชี้ฟ้า รวมทั้งผมเข้าไปจ่อใกล้แค่นั้นแล้วก็ยังไม่รู้จัก ไม่มีโอกาสได้ไป หากไปก็สบายมากเพราะมีเฮลิคอปเตอร์ตรวจแนวชายแดนด้วย

สรุปเส้นทางจากพะเยา คือไปผ่าน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ๑๐๒๑ ผ่านต้นจามจุรีที่ป้ายเขาบอกว่าสวยที่สุดในประเทศไทย มองเห็นจากถนน แล้วแยกขวาไปยังกิ่งอำเภอ ภูซาง แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนสาย ๑๐๙๓ ไปยังบ้านฮวก จากบ้านฮวกถึงภูชี้ฟ้า ๓๖ กม.
ส่วนที่พักคือ อุกฤษ ฮิลล์ นั้นห่างจากบ้านฮวก ๓๐ กม. ถนนลาดยางบ้างแค่บ้านฮวก เลยบ้านฮวกไปหน่อยจะเป็นถนนลูกรังตลอด ปละจากภูซางไปยังบ้านฮวกจนถึงภูชี้ฟ้า ถนนจะขึ้นลูกเดียวไม่มีลงอีกแล้ว จะไต่สูงขึ้นตามลำดับ แต่ยังไม่ชันมากเหมือนขึ้นพระพุทธบาทสี่รอยที่แม่ริม เชียงใหม่ ก่อนถึงที่พักทางซ้ายมือ จะผ่านศูนย์ส่งเสริมการเกษตรดอยผาหม่น ซึ่งจะกลับมาเที่ยวเมื่อลงจากภูชี้ฟ้าแล้ว
รวมระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึงภูชี้ฟ้าประมาณ ๑๖๕ กม. ใช้เวลาวิ่งประมาณ ๔ ชั่วโมง ผมถึงที่พักเวลา ๑๗.๓๐ น ถึงก่อนคณะคนหนุ่ม (คุยเสียด้วย) ซึ่งเขาแวะไร่ชาวนฝันที่ลำปาง เรียกว่าดูเต่าว่างั้นเถอะ คนหนุ่มอายุครึ้งร้อยจึงมาถึงเอาเกือบสองทุ่ม ผมดัดจริตนั่งดื่มไวน์ที่เอาไปด้วยจนเกือบหมดขวดแล้ว อากาศหนาวเย็นดีพิลึก ที่พักซึ่งเขาจะหากินได้ดีเฉพาะ ๔ เดือนเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครขึ้นมาพัก มีบ้านพักไม่กี่หลังและเราเองก็จองล่วงหน้าไม่นาน ทำให้ได้จำนวนห้องน้อยแต่เขามีที่นอนเสริมให้ เรียกว่าเสริมจริง ๆ เช่นหลังที่ผมพักนี่ เจ้าของเขาเคยอยู่แถวบ้านฮวกมาก่อน รู้จักชื่อผมดี รวมทั้งหน้าตาด้วยพอบอกจองไปเขาบอกว่าเต็มหมดแล้ว คนจองบอกว่าผมขอจองเขาก็ใจเด็ดยกบ้านของเขาให้คณะของผม ซึ่งเฉพาะหลังนี้มี ๒ ห้อง กับอีก ๑ เตียงที่ระเบียง รวมแล้วนอนกันสัก ๑๐ คน มีห้องน้ำห้องเดียว ผมใช้ความเป็นอาวุโสยึดระเบียงเป็นที่นอน เพราะใกล้ห้องน้ำดี และยังดีเขายังมีน้ำอุ่นให้อาบ มีไฟฟ้าใช้ ต้นไม้รอบ ๆ ที่พักมีไม่มาก ที่สวยมากคือต้นลำโพงมีชื่อเพราะ ๆ ผมจำไม่ได้ ออกดอกสีขาวสะอาด ห้อยลงมาดอกบานเหมือนแตร
อาหารของเขาเลี้ยงไม่อั้นทั้งมื้อเย็นและมื้อเช้า อาหารพื้นบ้านธรรมดา เป็นอาหารไม่มีภาค แบบผสมเช่นมื้อเย็น ผัดกล่ำปลีจากไร่สด ผัดเก่งเสียด้วย หวานกรอบ ยกมาร้อน ๆ ใช้เป็นกับแกล้มได้ ไข่เจียวยิ่งไม่อั้นใหญ่ทอดเก่งอีก หมดขอได้ น้ำพริกอ่องผักสด แกงจืด ปลานิลทอดกระเทียมพริกไทย แคบหมูเอาไว้จิ้มน้ำพริกอ่องกินกันยังกับตายอดตายอยากมานาน โดยเฉพาะหนุ่มที่ไม่ก๊งสุรายิ่งกินข้าวหนัก

เช้ามืดต้องตื่นกันตั้งแต่ตีสี่เศษ ๆ เพราะเขาเตือนไว้ตั้งแต่ตอนค่ำแล้ว อย่าได้คิดเอารถส่วนตัวขึ้นไปที่ยอดภูชี้ฟ้าเป็นอันขาด เพราะลานที่จอดรถได้นั้นแคบนิดเดียว และข้าง ๆ ทางหรือ หรือที่ว่างจะมีน้อยนิดอย่างไรก็แล้วแต่ หากกางเต็นท์ได้แล้วจะเต็มหมด ให้ไปรถของช้าวบ้านเขาคิดไปกลับคนละ ๕๐ บาท จ่ายเงินขากลับเขาจะมารับถึงที่พักพาไปส่งถึงลานขึ้นภู แล้วเขาก็จะกลับมารับคนขึ้นไปใหม่ เรียกว่าปีหนึ่งรวยกันตอนปีใหม่นี่แหละ วันอื่นในฤดูนี้ คนก็จะไม่แน่นเหมือนวันปีใหม่ ดังนั้นพอสักตีห้าเศษ ๆ เราก็ไปถึงเชิงภู ซึ่งจะต้องเดินขึ้นไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร เพื่อไปอยู่ตรงยอดดอยที่ชี้เด่ไปในท้องฟ้า มองจากดอยอื่นจะเห็นเด่นว่าจงอยนั้นชี้ไปกลางอากาศในเขตแดนลาว ขนาดเราว่าไปเร็วแล้วก็ปรากฏว่าบนพื้นที่สูงที่สุดนั้นคนเต็มหมดแล้ว อย่างที่ผมบอกไว้เห็นดำตัดขอบฟ้าที่แท้หัวคนทั้งนั้น ก็เลยหยุดหาที่มั่นกันตรงจุดสูงที่สุดเท่าที่จะเดินแหวกคนไปได้ และต่อไปแหวกไม่ได้แล้ว ยืนนั่งกันเต็มไปหมด เบียดกันก็ไม่มีใครว่าใครหนาวด้วย จ้องกันไปตามหุบเขา ตามไหล่เขา พอเริ่มฟ้าสางประมาณตีห้าเศษ ๆ ก็จะเห็นหมอกไหลเข้ามาสู่หุบเขากลายเป็นทะเลและเคลื่อนไหวได้ บางทีก็ธารหมอกไหลลงจากยอดเขาข้างหน้าลงสู่หุบ สีขาวโพลนสวยสุดพรรณนาก็แล้วกัน พอใกล้ ๐๖.๐๐ มองทางขอบฟ้าด้านซ้ายเริ่มเห็นสีแดงเรื่อ ๆ ของดวงตะวันและจะค่อย ๆ ลอยสูงขึ้นจนวงกลมโต แต่แสงยังไม่แรงกล้ายังมองชมได้ สวยจริง ๆ ถ่ายรูปกันไม่เสียดายฟิล์ม

ชมตะวันขึ้นและทะเลหมอกกันจนอิ่มตา อิ่มใจแล้วและคนบนภูบนเริ่มถอยลงมาเราก็เดินสวนขึ้นไป แต่ก็ไม่งามเหมือนตอนตีห้าเศษแล้วเพราะตะวันเริ่มจ้า แต่ขอให้ได้ขึ้นถึงที่สุดเป็นใช้ได้ จากนั้นก็กลับลงมา รถเขาจะมาเรียกเองไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่มารับ เพราะยังไม่ได้จ่ายสตางค์เขา จำแม่นจริง ๆ พอกลับมาถึงที่พักอาหารเช้าแบบชาวบ้านก็เตรียมไว้เรียบร้อย นั่งตามศาลาที่เขาปลูกไว้หยาบ ๆ นั่งกินอาหารได้สบายก็แล้วกัน อากาศหนาวเย็นสดชื่นดีพิลึก รอบเช้ามีกาแฟ มีข้าวต้มหมูร้อนโฉ่ และไข่เจียว เสริฟไม่อั้น หมดบอกผัดกันร้อน ๆ เอามาให้ด่วนเลยทีเดียว อิ่มแล้วก็อำลาอุกฤษ์ รีสอร์ท และนัดแนะว่าปีหน้าหากร่างกายยังแจ๋วจะมาอีก แต่จะไม่มาในตอนขึ้นปีใหม่เป็นเด็ดขาด
ใคร่ขอเสนอแนะกรมป่าไม้ โดยเฉพาะกองอุทยานไว้ด้วยว่า ควรเตรียมพื้นที่คือ พื้นทีพักแรม น่าจะทำแบบเมืองนอกเขาทำกันสำหรับอุทยานแห่งนี้ เพราะผู้คนไปเที่ยวกันมากจริง ๆ และไม่ได้ไปทั้งปี ไปในเวลาอันจำกัดจึงแห่กันไป ที่พักไม่พอรองรับ นักท่องเที่ยวประเภทหนุ่ม สาว เขาชอบนอนเต๊นท์กันมาก ดังนั้นหากยอมเสียพื้นที่บ้าง คงต้นไม้ใหญ่ไว้ ถากถางให้ดี ให้กางเต๊นท์นอนได้ มีที่จอดรถ สร้างสุขาให้เพียงพอ มีไฟฟ้า ใครจะใช้ไฟฟ้าก็มีปลั๊กให้เสียบแล้วคิดสตางค์เหมาจ่ายทั้งสถานที่สถานที่กางเต๊นท์ ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบริการต่าง ๆ ก็จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดียิ่ง การท่องเที่ยว กับป่าไม้ ไม่ลองพิจารณาดูบ้างหรือทำให้แจ๋ว ๆ สักแห่งแล้วขยายไปให้ทั่วแหล่งท่องเที่ยวประเภทอุทยานหรือวนอุทยาน ส่วนข้อเสนอข้อที่สอง ขอให้ทำด่วนคือเพิ่มพื้นที่จอดรถตรงทางขึ้สู่ภูชี้ฟ้าที่สุดทางรถให้มากขึ้นอีกหน่อยได้ไหม แล้วเก็บค่าจอดรถหรือค่าเข้าอุทยานเสียเอง ไม่ใช่ให้มีการกั้นกลางถนนตั้งป้อมเก็บเมื่อรถวิ่งผ่านเช่นที่ทางเข้าน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก โดยไม่คำนึงว่ารถเขาหลงเข้าไปวนหรือจะเข้าไปจอด อ้างว่าเก็บค่าจอดรถ รอให้รถเข้าจอดเสียก่อนแล้วค่อยเก็บก็จะดี
อิ่มกับอาหารเช้าแบบลูกทุ่งของรีสอร์ทแล้วก็เตรียมเดินทางกลับ และตั้งใจกันว่ามื้อเที่ยงจะไปกินข้าวกันที่ผาตั้ง ร้านไหน กินอะไรผมยังไม่รู้ บอกคณะว่าจะควานหาของอร่อยให้จนได้ ด้วยวิธีการเสาะหาร้านอาหารของผม ก่อนจะไปผาตั้งก็ย้อนทางมาเล็กน้อย กลับมายังศูนย์การเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ซึ่งมีอาคารสำนักงานและร้านขายสินค้าหัตถกรรมราคาไม่แพงน่าซื้อ เดินไปชมโรงปลูกหน้าวัวสวยมากกำลังออกดอกเต็ม ดอกโตกว่าปลูกพื้นที่ข้างล่าง ดอกเบญมาศ ดอกไม้เมืองหนาว
การเดินทางไปผาตั้งผมขอเล่าทีหลัง แต่การเดินทางกลับมาเชียงรายนั้นกลับได้ ๓ ทางคือ กลับตามเส้นทางเดิมมายังเชียงคำ แล้วไปอำเภอเทิง ไปเชียงราย เส้นที่สอง เส้นนี้ดีที่สุดเลาะริมโขงด้วย คือกลับผ่านมาทางผาตั้ง เวียงแก่น เชียงของ เชียงราย เส้นทางเลาะริมโขงที่สวยงามยิ่งนักนั้นอยู่ในช่วงเวียงแก่นมาเชียงของ ส่วนเส้นที่ ๓ คนอุตริอย่างผมชอบมาคือ จากผาตั้งมาผ่านบ้านเช้งเม้ง บ้านปางค่า อำเภอเทิง เชียงราย ถนนแทบจะไม่เป็นถนน ไม่มีรถวิ่งประจำ มีน้อยมาก หากรถเสีย ยางระเบิดก็นั่งกินดินกันอยู่กลางทางนั่นแหละ หากถามว่าแล้วอุตริมาทำไม ก็เพราะเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๑ ผมนำกองพันทหารปืนใหญ่เป็นกองพันแรกขึ้นมาปราบปราม ผกค. และ กองร้อยที่ ๓ ของกองพันผมมาตั้งฐานปฏิบัติการกันอยู่ที่บ้านปางค่า ไปวันนี้จะไปที่ตั้งฐานยังอยู่ไหม หาไม่เจอ เจอแต่หมู่บ้านผู้คนเต็มไปหมด เห็นฝีมือนักพัฒนาไหมล่ะ


ต้องขอขอบคุณคนเขียนมากๆ ที่ทำให้เราได้เข้าใจอย่างดีครับ ขอบคุณ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/tour

อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง



อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติดอยผากลองอยู่ในท้องที่อำเภอลอง อำเภอเมือง และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประกอบด้วยพื้นที่เป็นเขาสูงชัน บางแห่งพื้นที่ราบบนเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อน เป็นหินปูน และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม คือ สวนหินมหาราช จะมีหินโผล่ซึ่งมาจากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์ ประกอบกับบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ปัจจุบันมีผู้เข้าไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก และมีเทือกเขาดอยผากลองเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแห่งชาติดอยผากลองมีเนื้อที่ประมาณ 117,982 ไร่ หรือ 188.77 ตารางกิโลเมตร

เมื่อปี พ.ศ. 2530 สำนักงานป่าไม้เขตแพร่และจังหวัดแพร่ มีนโยบายจัดสวนหิน ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย ท้องที่ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นวนอุทยานสวนหินมหาราช เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้แล้ว โดยให้ประสานงานกับกองอุทยานแห่งชาติ และได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้ดำเนินการสำรวจป่าห้วยขมิ้น ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย ป่าห้วยเบี้ย-ห้วยบ่อทอง และป่าแม่แย้-แม่สาง ท้องที่ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง ตำบลวังหงส์ ตำบลท่าข้าม ตำบลวังธง และตำบลป่าแมต อำเภอเมือง ตำบลเวียงทอง ตำบลร่องกาด และตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

กรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายประภาส อินทร์แก้ว ไปสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย ป่าห้วยเบี้ย-ห้วยบ่อทอง และป่าแม่แย้-แม่สาง ในท้องที่จังหวัดแพร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือที่ กษ 0713 (ผก) ลงวันที่ 19 มกราคม 2533 ว่า ได้พิจารณาจากสภาพป่าบริเวณ ดังกล่าวซึ่งมีเทือกเขาดอยผากลองเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และมีถ้ำ ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักจึงเห็นสมควรใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ว่า “อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง”

กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบด้วยตามที่อุทยานแห่งชาติเสนอขออนุมัติใช้ชื่อ อุทยานแห่งชาติว่า “อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง” และนายประภาส อินทร์แก้ว เจ้าหน้าที่ผู้สำรวจได้รายงานส่วนอุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดอยผา กลอง ด่วนที่สุด ที่ กษ 0712.3(ผก)/7 ลงวันที่ 13 มกราคม 2537 ว่า พื้นที่มีความเหมาะสมกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ่อทอง ป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย และป่าแม่แย้ ป่าแม่สาง ในท้องที่ตำบลท่าขาม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ตำบลผามอก อำเภอลอง ตำบลเวียงทอง ตำบลร่องกาด ตำบลบ้านปง ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยไม่มีราษฎรเข้าไปบุกรุกยึดถือครอบครองอยู่อาศัยเป็นหมู่บ้านถาวรแต่อย่างใด

ต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าห้วยเบี้ยและป่าห้วยบ่อทอง ป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย และป่าแม่แย้และป่าแม่สาง ในท้องที่ตำบลท่าขาม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ตำบลต้าผามอก ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง ตำบลเวียงทอง ตำบลสบสาย ตำบลบ้านปง ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 107 ของประเทศ





ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน บางแห่งเป็นที่ราบบนภูเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติ และพื้นที่บางส่วนสำนักงานป่าไม้เขตแพร่ ได้ทำการปลูกป่าไม้สักเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณที่สำรวจเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ซึ่งประกอบด้วยห้วยที่สำคัญคือ ห้วยขมิ้น ห้วยผาคำ ห้วยเบี้ย ห้วยน้ำริน ห้วยแม่ต้า และห้วยแม่สาง



ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน และมีพันธุ์ไม้นานาชนิด ฤดูหนาวจึงค่อนข้างหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 8-12 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนไม่ร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม และจะสิ้นสุดเดือนตุลาคม ยังไม่มีการเก็บข้อมูลทางด้านปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยในเขตพื้นที่สำรวจ



พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้กระพี้เขาควาย ชิงชัน กระเจาะ กระพี้จั่น ตะเคียนทอง ตะแบก โมกมัน และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่มักพบอยู่เสมอคือ เต็ง รัง เหียง พลวง กระโดน ตะค้อ มะกอกป่า เป็นต้น

ส่วนสัตว์ป่าจากการสำรวจสภาพพื้นที่จริง และสอบถามราษฎรในท้องถิ่นใกล้เคียง พบว่ามีสัตว์ป่า อาศัยอยู่มากมาย ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า ลิงลม อีเห็น กระต่าย กระรอก กระแต ตุ่น หนู งู นกชนิดต่างๆ และปลา




ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง : 20,410 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 19 พฤษภาคม 2552






อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง
ต.ต้าผามอก อ. ลอง จ. แพร่ 54150
โทรศัพท์ 0 5450 1145 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติแม่ยม



อุทยานแห่งชาติแม่ยม

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติแม่ยม พื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าสักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่งดงามมาก นับได้ว่าเป็นตัวแทนป่าไม้สักของภาคเหนือได้อย่างดียิ่ง รวมทั้งไม้ที่มีค่าต่างๆ จำนวนมาก และทิวทัศน์ที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454. 75 ตารางกิโลเมตร

ในปลายปี พ.ศ. 2525 นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดแพร่) ดำริให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า จังหวัดแพร่ ซึ่งมีไม้สักที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ ที่สวยงามหลายแห่ง ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า บริเวณป่าแม่ปุงและป่าน้ำงาว น้ำสวด มีป่าสักที่สมบูรณ์ยิ่งในภาคเหนือ สภาพป่าโดยทั่วไปสมบูรณ์ดี เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ทั้งยังมีทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ทาง ธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีแม่น้ำยมไหลผ่าน และลักษณะเด่นที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติแม่ยมแห่งนี้เกิดจากแม่น้ำยม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 103 ตอนที่ 34 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2529 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 51 ของประเทศ





ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศอุทยานแห่งชาติแม่ยมโดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดลงมายังฝั่งแม่ยมซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ เทือกเขาเหล่านี้ เช่น ดอยหลวง ดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้น ซึ่งเทือกเขาสูงดังกล่าวนี้เป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำยม อาทิ น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋า ห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิม และห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้น บริเวณที่ราบซึ่งมีความลาดเอียงจากแนวทิศเหนือไปทิศใต้โดยประมาณ มีระดับความสูงประมาณ 180 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่บริเวณอำเภอสอง แล้วลดความสูงมาเป็นประมาณ 157 เมตร ส่วนทางด้านแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้น พื้นที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำยมทั้งสองด้าน ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วนปนทราย ชนิดหินเป็นหินชั้นและหินเชล และพื้นที่จะอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5



ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยม อยู่ในลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ปริมาณและการกระจายของฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มพัดผ่านระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ทำให้ฝนตกชุก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน โดยนำอากาศหนาวและแห้งแล้งจากประเทศจีนมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ช่วงฤดูแล้งนี้ยังมีลักษณะอากาศแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขากล่าวคือ อากาศหนาวแห้งแล้งจะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และอากาศร้อนแห้งแล้งจะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนเมษายน 33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,095 มิลลิเมตรต่อปี



พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดป่าชนิดต่างๆ ได้แก่
ป่าเบญจพรรณ พบทั่วไปในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณเหนือเขื่อนขึ้นไปทางทิศตะวันตกของลำน้ำยม ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก ฯลฯ

ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ และกระจายเป็นหย่อมๆ ในบริเวณดินที่มีความแห้งแล้ง เป็นดินลูกรัง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง พลวง รัก มะเกิ้ม ชิงชัน ฯลฯ

ป่าดิบแล้ง ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติและตามบริเวณริมห้วยที่สำคัญ มีความเขียวชอุ่มตลอดปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง กระบาก มะหาด ยาง ยมหอม ก่อ ฯลฯ

ป่าสนเขา มีขึ้นอยู่ตามยอดเขาทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้จะเป็นพวกไม้สน และไม้ก่อ เช่น สนสามใบ ก่อเดือย ก่อตาหนู เป็นต้น

จากการสำรวจสัตว์ป่า พบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 39 ชนิด นก 135 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 28 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 ชนิด ในจำนวนนี้มีสัตว์ที่มีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง 4 ชนิด ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก กระรอกบินเล็กแก้มขาว แมวป่า และนกยูง มีสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ 1 ชนิด คือ เสือปลา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนซึ่งมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ตามสมุดปกแดงของ IUCN คือ เลียงผา สัตว์ป่าชนิดอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ เก้ง หมีควาย หมูป่า กระต่ายป่า นางอาย เม่นหางพวง นากเล็กเล็บสั้น อ้นเล็ก กระเล็นขนปลายหูสั้น ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวมงกุฎมลายู หนูท้องขาว ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหกเล็กปากแดง นกกระปูดใหญ่ นกเค้าโมง นกตบยุงหางยาว นกตะขาบทุ่ง นกตั้งล้อ นกโพระดกคอสีฟ้า นกหัวขวานด่างแคระ นกแอ่นตะโพกขาวหางแฉก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินแมลงอกเหลือง นกพงคิ้วดำ นกเด้าลมหลังเทา นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกจับแมลงหัวเทา นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ กิ้งก่าสวน แย้ขีด จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งจกหางหนาม งูหลาม งูสามเหลี่ยม อึ่งขาดำ กบหนอง เขียดบัว และคางคกบ้าน เป็นต้น




ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติแม่ยม : 24,126 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 13 มิถุนายน 2552






อุทยานแห่งชาติแม่ยม
ตู้ ปณ. 4 อ. สอง จ. แพร่ 54120
โทรศัพท์ 0 5455 6537 (VoIP), 0 5462 6770 โทรสาร 0 5462 6770 อีเมล maeyom_13@windowslive.com

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย




อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

“เวียงโกศัย” มาจากชื่อที่ใช้เรียกจังหวัดแพร่ในอดีต อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่เกิ๋งน้อย และมีบ่อน้ำแร่แม่จอก ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อน ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เนื้อที่ประมาณ 256,250 ไร่ หรือ 410 ตารางกิโลเมตร

น้ำตกแม่เกิ๋ง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่เกิ๋ง ท้องที่ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เป็นน้ำตกที่สวยงามและมีน้ำตกตลอดทั้งปี ในปี พ.ศ.2519 อำเภอวังชิ้น มีโครงการจะสร้างเป็นอุทยานเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส. 0708/12473 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2522 ให้นายวิจารณ์ วิทยศักดิ์ นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำการสำรวจ ปรากฏว่า บริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานได้ ตามหนังสือรายงานที่ กส. 0788/188 ลงวันที่ 10 กันยายน 2522

กรมป่าไม้จึงได้มีหนังสือด่วนมากที่ กส. 0708/17711 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ให้ป่าไม้เขตแพร่ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเขตแพร่ได้มีคำสั่งที่ 816/2522 ให้นายทวี สุขโกษา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 สำรวจหาข้อมูลบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋ง เพื่อดำเนินการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่เกิ๋ง ตามนโยบายของนายณรงค์ วงศ์วรรณ สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดแพร่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2478/2522 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2522 ให้นายวิทยา เฉิดดิลก นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่เกิ๋ง และทำการสำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้

สำนักงานป่าไม้เขตแพร่ได้มีหนังสือเลขที่ กส. 0709 (พร) / 1619 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2523 ส่งรายงานการสำรวจของ นายทวี สุขโกษา ลงวันที่ 14 มีนาคม 2523 และอุทยานแห่งชาติแม่เกิ๋ง ได้มีหนังสือรายงานการสำรวจที่ กส. 0708 (มก) / 23 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2523 ปรากฏว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (บางส่วน) ท้องที่อำเภอวังชิ้น อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และป่าโครงการไม้ฟืน (บางส่วน) อำเภอสบปราบ กับป่าโครงการ (บางส่วน) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง รวมเนื้อที่ประมาณ 410 ตารางกิโลเมตร ลักษณะทั่วไปมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงามมีสัตว์ป่านานาชนิด มีคุณค่าทางด้านการศึกษามากเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย” ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของจังหวัดแพร่

ในปี 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่พริก ป่าแม่ เสลียม ป่าแม่ทาน และป่าแม่จางฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลดอนไฟ ตำบลบ้านกิ่ว ตำบลบ้านบอน อำเภอแม่ทะ ตำบลสมัย ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ และตำบลแม่ถอด ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และป่าแม่สรอบ ป่าแม่เกิ๋ง ป่าแม่ปง และป่าแม่ลอง ในท้องที่ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง และตำบลแม่ห้าก ตำบลแม่พุง ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 168 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2524 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 35 ของประเทศ





ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ความลาดชันโดยเฉลี่ยประมาณ 80 องศา จุดสูงสุดจากระดับน้ำทะเล 1,267 เมตร ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเป็นเทือกเขาที่เขียวชอุ่ม มีหน้าผาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ๋ง แม่จอก แม่สิน แม่ป้าก ฯลฯ ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม และภูเขาเป็นภูเขาหินทราย ทำให้ดินที่เกิดจากการผุสลายของภูเขาเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี บริเวณที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นลูกรัง โดยเฉลี่ยดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีมาก



ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม



พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าตอนบนของเทือกเขามีลักษณะเป็นป่าดิบแล้ง ส่วนตอนล่างมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยาง ดำดง ตะแบก ประดู่ แดง และสักซึ่งขึ้นอยู่ปะปนบ้าง ส่วนพืชพื้นล่างเป็นพวกไผ่ชนิดต่างๆ ปาล์ม หวาย และเอื้องดิน เป็นต้น

สัตว์ป่าที่เคยพบอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้มี กวางป่า เสือ และช้างป่า แต่ถูกลักลอบเข้ามาล่าอย่างหนัก เหลือแต่สัตว์ขนาดเล็กๆ เช่น เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ มีชุกชุมอยู่ในบริเวณหุบเขา และแหล่งน้ำต่าง ๆ




ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย : 22,671 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 19 พฤษภาคม 2552






อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
ตู้ ปณ. 1 อ. วังชิ้น จ. แพร่ 54160
โทรศัพท์ 0 5455 6763 (VoIP), 0 556768 โทรสาร 0 5455 6768 อีเมล wi_ang_kosai@hotmail.com

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า



อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

อนุสรณสถานบนลานดอกไม้

. วันที่ 23 สิงหาคม 2552 อุณหภูมิวันนี้ ต่ำสุด 20.0 องศาเซลเซียล สูงสุด 26.0 องศาเซลเซียล ปริมาณน้ำฝน 0.0 มิลลิเมตร " ดอกลิ้นมังกรสีชมพู " ที่น้ำตกหมันแดงบานแล้ว นะคะ....

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ

ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523 และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33) ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว) ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วมและประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ
ฅงวันที่(๔ กุมภาพมซฐฌ(:26(ณ้นายจฺรฎล สุขเกษม)ธมกวิชาการ9่Rไม้ 5 นาย๔มฐ‚ ธกูลเรืองกิจ เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 นายมาโนช การพนักงาน นายช่างโยธา 3 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลบริเวณภูหินร่องกล้าผลการสำรวจสรุปได้ว่า เป็นพื้นที่ๆ สภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารและมีลักษณะทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดเด่นหลายแห่ง เช่น ลานหินแตก ลานหินปุ่ม ประกอบกับเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างกองทัพแห่งชาติกับคอมมิวนิสต์ มีความเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ





ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่



ลักษณะภูมิอากาศ

ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC



พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ

ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ

ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่

นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม

ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น




ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า : 202,616 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 19 พฤษภาคม 2552






อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตู้ ปณ. 3 อ. นครไทย จ. พิษณุโลก 65120
โทรศัพท์ 0 5523 3527 โทรสาร 0 5523 3527 อีเมล rongkla-00@thaimail.com

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ



อุทยานแห่งชาติเขาค้อ

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจจัดตั้งใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 304,521 ไร่

บริเวณพื้นที่ป่าที่จะประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เดิมเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น จากดำริของผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 (การประชุมสัมมนาหัวหน้าวนอุทยาน) ให้หัวหน้าวนอุทยาน สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบมีศักยภาพและความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีนายชลธร ชำนาญคิด นักวิชาการป่าไม้ 7 ว ส่วนอุทยานแห่งชาติเป็นผู้สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ส่วนอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้สั่งนายเผชิญโชค เสนากาญจน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สำรวจสภาพและควบคุมพื้นที่ป่าบริเวณที่กรมประชาสงเคราะห์ส่งมอบคืน ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู รวม 3 แห่ง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำสำคัญ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำยม-น่าน ท้องที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพลและตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลแค็มป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลริมสีม่วง ตำบลเขาค้อ ตำบลสะเดาะพง และตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ เกาะ แก่ง หน้าผา จุดชมทิวทัศน์ แหล่งประวัติศาสตร์ของสมรภูมิการสู้รบ ระหว่างรัฐบาลกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นเวลายาวนานจึงสงบ ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการสู้รบในสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อหมู่บ้าน/สะพานจะใช้ชื่อ/นามสกุล เป็นอนุสาวรีย์แก่ผู้เสียสละชีวิตหลายท่าน พระตำหนักเขาค้อที่สวยงาม สร้างไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเสด็จที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ เป็นที่ประทับแรม ฯลฯ

ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไปแล้ว





ลักษณะภูมิประเทศ

มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา



ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน จากการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ตั้งอยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ 33 หมู่ 11 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ UTM 276434 ซึ่งเริ่มเก็บสถิติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการที่พื้นที่อยู่ในที่สูง จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อีกทั้งปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้าง โดยแบ่งให้เห็นชัดเจนดังนี้

ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น
ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน
ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี



พืชพรรณและสัตว์ป่า

ป่าไม้ของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (ส่วนใหญ่เป็นป่าปลูกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ (ประเภทที่ไม่มีไม้สัก) ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ ฯลฯ

สภาพป่าดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย/แหล่งอาหาร/ที่หลบภัยของสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนกชนิดต่างๆ อีกกว่า 100 ชนิด และความหลากหลายของผีเสื้อ

Forest resources of Khao Kho National Park comprises with natural forest and forestationcomposed mixed deciduous forest, dry dipterocarpforest, tropical evergreen forest and granssland. This forest is a sanctuary, food source, shelter forwildlife such as mammals, birds and reptiles.


ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ : 103,873 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 20 สิงหาคม 2551






อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
33 หมู่ที่ 11 ต.บุ้งน้ำเต้า อ. หล่มสัก จ. เพชรบูรณ์ 67110
โทรศัพท์ 0 1226 0565 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก



อุทยานแห่งชาติตาดหมอก

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา



ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร

เมื่อปี พ.ศ. 2532 จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้พบน้ำตกสวยงามเหมาะสมที่จะปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ขอให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเมื่อกลางปี งบประมาณ 2534

กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/244 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการตราพระราชกำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอร่างพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติได้มี หนังสือ ที่ กษ 0712.3/1275 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2539 ให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้พิจารณาตามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 22 ธันวาคม 2535 ว่าพื้นที่ทีจะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติมีราษฎรอาศัยหรือทำกินหรือไม่ และได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.425/65 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 ว่า พื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ไม่มีราษฎรบุกรุกครอบครองแต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยราชการต่าง ๆ และราษฎรในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีเพื่อรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์นี้ เพื่อจะได้เสนอประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือ ที่ นร 0214/13816 ลงวันที่ 26 กันยายน 2539 และส่งร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปเพื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/105 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกำหนดดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว พื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกำหนดนี้ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 619 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 การทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังกล่าวสมควรให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกำหนดต่อไป และกรมป่าไม้แจ้งยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดตามร่างคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานกฤษฎีกาฯที่ให้กรมป่าไม้ออกกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติจะดำเนินการภายหลัง

อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 78 ก หน้า 11 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 87 ของประเทศไทย





ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของห้วยน้ำดำ ห้วยผึ้ง ห้วยกกไฮ ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำชี เป็นผืนป่าเดียวกันกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่

อาณาเขตทิศเหนือติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศใต้จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออกจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันตกจด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์



ลักษณะภูมิอากาศ


โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม



พืชพรรณและสัตว์ป่า

ส่วนที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ยาง แดง สัก ก่อ ประดู่ ตะแบก ไผ่ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาชนิดต่าง ๆ




ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติตาดหมอก : 65,087 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 20 สิงหาคม 2551






อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
ตู้ ปณ.4 อ. เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์ 67000
โทรศัพท์ 0 5681 0616 (VoIP), 08 9703 8855 โทรสาร 0 5681 0616 (VoIP) อีเมล tatmok1@hotmail.com