น้ำตกหมอแปง,แม่ฮ่องสอน


น้ำตกหมอแปง อยู่หมู่ที่ ๔ บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางจากเส้นทางอำเภอปาย-แม่ฮ่องสอน มีทางแยกซ้ายจากถนนใหญ่เข้าไป ๖ กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีตถึงบริเวณแก่งเมืองปายรีสอร์ทจากนั้นจะเป็นทางลูกรัง ๒ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวนิยมเช่าจักรยานและจักรยานยนต์ขี่มาเที่ยวชมได้ น้ำตกหมอแปงเป็นน้ำตกขนาดเล็กไหลลงอยู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำตลอดทั้งปี สูงประมาณ ๕ เมตร บรรยากาศร่มรื่น ในบริเวณใกล้ ๆ กับน้ำตกมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น,แม่ฮ่องสอน

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายปาย-แม่ฮ่องสอน เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว

โป่งน้ำร้อน,ท่าปาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๘๗-๘๘ แยกซ้ายเข้าไปอีก ๒ กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางลาดยางตลอดทั้งสาย มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ และมีน้ำร้อนไหลผ่านทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นเป็นน้ำผุดหลายจุด ความร้อนประมาณ ๘๐ องศาเซลเซียส รอบๆโป่งน้ำร้อนเป็นป่าไม้สัก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง,จังหวัดแม่ฮ่องสอน


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหงจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๕๒ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีภูเขาที่สูงที่สุดคือดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย

วัดน้ำฮู,จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัดน้ำฮู อยู่ที่หมู่ที่ ๕ ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางโรงพยาบาลปายประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีลักษณะพิเศษคือพระเศียรกลวง พระโมฬีปิดเปิดได้และมีน้ำซึมออกอยู่เสมอประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมืองทางวัดเปิดให้เข้านมัสการทุกวัน

วัดกลาง,จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัดกลาง อยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ

อุทยานสวรรค์,นครสวรรค์


อุทยานสวรรค์
เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่กลางเมืองนครสวรรค์มีผู้นิยมไปพักผ่อนหย่อนใจกันมาก มีเนื้อที่ 314 ไร่ ใกล้ทางแยกสายเชียงใหม่-พิษณุโลก ติดกับถนนสายเอเซีย อุทยานสวรรค์ประกอบด้วยหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า "หนองสมบุญ" มีถนนวงแหวน 2 ชั้นล้อมรอบ ตรงกลางเป็นเกาะซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ มีสวนหย่อม สนามหญ้า น้ำพุ เวทีกลางแจ้ง น้ำตก ริมฝั่งน้ำภายในอุทยานจัดเป็นสวนสุขภาพ ด้านหน้าของสวนสาธารณะสร้างอย่างสวยงาม มีห้องน้ำ ห้องแต่งตัวบริการแก่นักท่องเที่ยว

วัดจอมคีรีนาคพรต,อำเภอเมือง


วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา)
อยู่บนยอดเขาบวชนาค ระหว่างเชิงสะพานเดชาติวงศ์และค่ายจิรประวัติ ตำนานกล่าวว่า เมื่อกองทัพพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในครั้งที่ 2 ได้แล้ว จึงร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อแสดงว่านับถือพุทธศาสนาเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทจำลองและพระอุโบสถที่ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์เทวดาสร้าง” ทุกๆ เดือน 12 ของปีจะมีงานนมัสการและปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองนี้เรียกว่า “งานวัดเขา” ซึ่งนอกจากจะมีงานสมโภชน์แบบงานวัดทั่วไปแล้วยังมีการแข่งขันเรือยาวอีกด้วย เมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดเขาบวชนาคและมองลงมาจะเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของสะพานเดชาติวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา และเขากบ

วัดศรีสวรรค์สังฆาราม,วัดถือน้ำ


วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ)
ตั้งอยู่ที่ตำบลนครสวรรค์ ออกห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ไปตามถนนพหลโยธิน (นครสวรรค์-กรุงเทพฯ) เข้าไปทางค่ายจิรประวัติ เป็นวัดเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับข้าราชการกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยมีใบหอก ใบพาย มีดดาบสมัยโบราณ พระพุทธรูปทองคำปางปฐมเทศนาและพระพุทธรูปเนื้อเงินบรรจุอยู่ภายใน พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าประมาณอายุได้ 100 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ มาทรงตัดลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ วัดนี้ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดที่มีคุณค่าแก่การศึกษาในทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งแห่งหนึ่ง

ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม


ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
ตั้งอยู่บริเวณชุมชนชาวปากน้ำโพ ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะและเป็นจุดรวมน้ำใจของชาวบ้าน รวมทั้งผู้สัญจรทางน้ำที่ผ่านไปมา

วัดเกรียงไกรกลาง,นครสวรรค์

วัดเกรียงไกรกลาง
ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลเกรียงไกร ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง เป็นวัดเก่าแก่ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ เจดีย์เก่าและมณฑปพระพุทธบาท บริเวณวัดมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าของวัดมีเอกชนจัดทำฟาร์มเลี้ยงจระเข้อยู่ด้วย

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
นครสวรรค์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านได้ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ บริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวเมือง ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว จะมองเห็นถึงความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือแม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสายสำคัญของประเทศไทย ไหลผ่านจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางไปจนถึงกรุงเทพมหานคร และออกอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเที่ยวทางเรือเพื่อชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแวะนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดปากน้ำโพ (วัดทองธรรมชาติเหนือ) สามารถเช่าเรือจากท่าน้ำเจ้าพระยา โดยเสียค่าเช่าเรือประมาณ 180 บาท (ไปกลับ) เรือบรรทุกได้ 15 คน

ถ้ำบ่อยา,นครสวรรค์

ถ้ำบ่อยา
เป็นถ้ำอยู่บนเขาที่หมู่บ้านหินก้อน ตำบลหนองกรวด อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวเมืองเป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ลาดยาว ทางแยกเข้าวัดถ้ำบ่อยา (วัดศรีอุทุมพร) ระยะทาง 6 กิโลเมตร จากบริเวณเชิงเขา มีบันไดขึ้นไปสู่ตัวถ้ำ ภายในถ้ำมีบริเวณกว้างขวางพอสมควร โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ตอนแรกเป็นที่ตั้งพระประธานองค์ใหญ่ ช่วงที่ 2 อยู่ลึกเข้าไปข้างในเป็นทางตัน บริเวณนี้จะมีบ่อน้ำทิพย์ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นบ่อยาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ช่วงที่ 3 เป็นทางที่จะออกจากบริเวณถ้ำสู่ภายนอกได้ทางหนึ่ง ภายในบริเวณถ้ำนอกจากจะมีบ่อน้ำทิพย์อยู่ดังกล่าวแล้ว ยังมีหินย้อยตามธรรมชาติที่งดงาม ซึ่งจะมองเห็นได้จากแสงไฟฟ้า ซึ่งมีให้ความสว่างอย่างเพียงพอภายในถ้ำ

วัดเกรียงไกรกลาง,นครสวรรค์

วัดเกรียงไกรกลาง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลเกรียงไกร ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 22 กิโลเมตร ตามถนนสายนครสวรรค์-ชุมแสง เป็นวัดเก่าแก่ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ เจดีย์เก่าและมณฑปพระพุทธบาท บริเวณวัดมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าของวัดมีเอกชนจัดทำฟาร์มเลี้ยงจระเข้อยู่ด้วย

วัดนครสวรรค์ ,นครสวรรค์

วัดนครสวรรค์ (วัดหัวเมือง)
ตั้งอยู่ที่ถนนสวรรค์วิถี เป็นที่ประดิษฐานพระผู้ให้อภัยยิ่งหรือพระหันหลังให้กัน อยู่หลังโบสถ์วัดนครสวรรค์ด้านถนนเทพสิทธิชัย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ มีประวัติว่าชนชาติพม่าเป็นผู้สร้าง พม่าเคยยกทัพมาถึงเมืองนครสวรรค์ และได้สร้างพระพุทธรูปไว้เป็นอนุสรณ์ การหันหลังให้กันอาจมีความหมายถึงการให้อภัยไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป และภายในโบสถ์วัดนครสวรรค์นั้น มีพระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อศรีสวรรค์ ประดิษฐานอยู่เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครสวรรค์

วัดวรนาถบรรพต,เขากบ


วัดวรนาถบรรพต (เขากบ)
เป็นวัดเก่าแก่ของนครสวรรค์ ตั้งอยู่บนยอดเขาและเชิงเขากบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 185.50 เมตร มีทางขึ้น 2 ทางคือ ทางเดินขึ้นบันได จำนวน 437 ขั้น และอีกด้านหนึ่งมีถนนราดยางขึ้นสู่ยอดเขา ซึ่งมีโบราณวัตถุ อาทิ รอยพระพุทธบาทจำลอง เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งสร้างสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี บริเวณเชิงเขามีเจดีย์ขนาดใหญ่สมัยสุโขทัย ซึ่งกรมศิลปากรได้จารึกประวัติศาสตร์ของวัดไว้ที่ฐานของเจดีย์องค์นี้ด้วย วัดนี้ได้รับการยกย่องจากกรมการศาสนา และมหาเถรสมาคมให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อ พ.ศ. 2509 นอกจากนั้นในวัดยังมีรูปหล่อพระหลวงพ่อทอง อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารข้างเจดีย์ใหญ่ด้วย บริเวณเนินเขาใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ช่อง 3 5 7 9 และ 11 จาก กรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดในภาคเหนือ

จันเสนเมืองโบราณ,ตาคลี

จันเสนเมืองโบราณ
จันเสนเป็นตำบลแห่งหนึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอตาคลี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอ 9 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ ตามถนนหมายเลข 3196 สายลพบุรี-ตาคลี ตัดผ่านซึ่งสามารถไปเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-วังทอง และถนนหมายเลข32 สายเอเชียได้ และมีทางรถไฟผ่านสถานีจันเสนอีกทางหนึ่ง

หอวัฒนธรรม,จังหวัดนครสวรรค์

หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
ตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยครูนครสวรรค์ ตำบลนครสวรรค์ อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ตรีมุขที่สวยงาม เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมของจังหวัด ภายในเป็นห้องนิทรรศการ แสดงการพัฒนาการทางวัฒนธรรมและแหล่งโบราณคดีต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโรงละครขนาด 110 ที่นั่งจัดแสดงประเพณีศิลปวัฒนธรรม หอวัฒนธรรมนี้สร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535

เขื่อนภูมิพล



เขื่อนภูมิพล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ ๘ ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน ๑๕๔ เมตร กั้นแม่น้ำปิงที่เขาแก้ว อำเภอสามเงา สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และด้านชลประทาน ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๒๐๗ กิโลเมตร รอบบริเวณเขื่อนภูมิพลเป็นแหล่งพักผ่อน และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดด้วย นอกจากนั้นทางเขื่อนภูมิพลได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ สองฝั่งลำน้ำปิงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่นเป็นเส้นทางเดินศึกษาสภาพความหลากหลายของพื้นที่ป่าดิบเขา และการฟื้นฟูสภาพป่า ตลอดจนการศึกษาลักษณะสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของภูเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ ภายในเขื่อนฯ มีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่พระพุทธบาทดอยเขาหนาม เป็นเกาะกลางน้ำ มีวัดพระพุทธบาทอยู่บนยอดดอย ภายในวัดมีรอยพระพุทธบาท และศาลาประดิษฐานองค์พระประธาน ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามเกาะวาเลนไทน์ เป็นเกาะเล็ก ๆ มีหาดทราย สามารถเล่นน้ำได้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเที่ยวเกาะทั้งสองได้โดยเช่าเรือจากเขื่อนภูมิพลล่องไปตามลำน้ำใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาทีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดบริการกีฬาบางประเภทเพื่อการพักผ่อนไว้บริการนักท่องเที่ยว อาทิ สนามกอล์ฟ สนามเทนนิส เรือเช่า สำหรับนักท่องเที่ยว หรือนักศึกษาที่มาเป็นหมู่คณะ หากต้องการฟังการบรรยาย และชมโรงไฟฟ้า ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าได้ที่ ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ๖๓๑๓๐ สถานที่พัก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีบริการบ้านพักเป็นเรือนนอน (ห้องแอร์) พักได้ ๓๐ คน ราคา ๕,๐๐๐ บาท, บ้านพัก ราคา ๘๐๐-๒,๕๐๐ บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนภูมิพล โทร. ๐ ๕๕๕๔ ๙๕๐๙, ๐๕๕๕๙ ๙๐๐๓-๖ ต่อ ๒๕๐๑, ๐ ๕๕๕๙ ๙๐๙๓-๗ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๔๓๖ ๓๒๗๑-๒ การเดินทาง จากตัวอำเภอเมืองตากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๔๖๓-๔๖๔ ให้แยกซ้ายเข้าไปประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ถึงตัวเขื่อนภูมิพล

สอบถาม ข้อมูลท่องเที่ยว เบอร์โทรสถานที่ต่างๆ โทร. 1672 (การท่องเที่ยว)

น้ำตกสายฟ้า

น้ำตกสายฟ้า และน้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกที่มีละอองน้ำตกลงมากระทบแสงแดด เหมือนรุ้งกินน้ำ มีน้ำไหลตลอดปี การเดินทาง อยู่ระหว่างเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ เลยอำเภอพบพระไป ๑๑ กิโลเมตร จะถึงน้ำตกสายฟ้า และน้ำตก สายรุ้งสถานที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักบริการ จำนวน ๒ หลัง และมีเต็นท์ให้เช่า ราคา ๑๕๐ บาท/คืน นอนได้ ๔ คน แต่ต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า ถึงหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ กิโลเมตรที่ ๓๗ หมู่ ๖ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ๖๓๑๖๐ การเดินทาง อุทยานฯ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ สายแม่สอด-อุ้มผาง ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๓๗ มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ ๗๐๐ เมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ


อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด มีพื้นที่ ๕๓๔,๓๗๕ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๗๖๕ เมตร สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเขาสน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗

น้ำตกนางครวญ

น้ำตกนางครวญ เดิมชื่อ น้ำตกเพอะพะ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น น้ำตกพบพระ และเปลี่ยนมาเป็นชื่อ น้ำตกนางครวญ เป็นน้ำตกขนาดกลางไหลลดหลั่นลงไปเป็นชั้นเล็ก ๆ ท่ามกลางป่าร่มรื่น มีต้นน้ำมาจากลำคลอง ริมท้องนาข้างทาง และทางการได้ตัดถนนผ่านตัวน้ำตกจึงแลดูเป็นน้ำตกเล็ก ๆ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงสาย ๑๐๙๐ พอถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๓๑-๓๒ มีทางแยกขวามือเข้าอำเภอพบพระ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๖ ที่อยู่ริมสะพานคอนกรีตด้านขวาบริเวณกิโลเมตรที่ ๑๒ ก่อนถึงอำเภอพบพระเล็กน้อยบ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อุณหภูมิวัดได้ ๖๐ องศาเซลเซียส สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๖ สายพบพระ-บ้านช่องแคบ (ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกพาเจริญ) มีทางแยกขวาก่อนเข้าอำเภอพบพระแล้วให้แยกขวาทางไปหมู่บ้านห้วยน้ำนัก

เจดีย์ยุทธหัตถี



เจดีย์ยุทธหัตถี หรือ เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ตั้งอยู่บนดอยช้าง ตำบลเกาะตะเภา ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก ๆ อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย เจดีย์นี้เป็นโบราณสถาน สร้างในสมัยสุโขทัยมีอายุราว ๗๐๐ ปีเศษ องค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ ๒๐๐ เมตร ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับองค์อื่น ๆ ทั่วไปในเมืองสุโขทัย ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง ๑๒ เมตร เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไป สูง ๑๖ เมตร เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ยอดสุดมีฉัตร มีร่องรอยการซ่อมแซมตลอดมา แต่ไม่เสียรูปทรงเดิม ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม หน้าสิงห์ด้านทิศเหนือยังสมบูรณ์ ด้านอื่น ๆ ชำรุด องค์เจดีย์ส่วนใหญ่มีคราบตะไคร่น้ำจับอยู่ทั่วไป จะมีการขุดแต่ง และทำความสะอาดรอบบริเวณเจดีย์ในช่วงใกล้วันเทศกาล เป็นงานเดียวกับงานไหว้พระธาตุบ้านตาก

สอบถาม ข้อมูลท่องเที่ยว เบอร์โทรสถานที่ต่างๆ โทร. 1672 (การท่องเที่ยว)

วัดพระบรมธาตุ


วัดพระบรมธาตุ อยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา วัดพระบรมธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแล้ว ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่สวยงาม หน้าบัน และจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง ๒ ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในวิหารมีอากาศเย็น และมีพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองอยู่ภายในวิหาร นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ที่มีลายแกะสลักไว้ให้ชม นับเป็นวัดที่มีคุณค่าในทางโบราณคดีมาก การเดินทาง จากอำเภอเมืองตากใช้ทางหมายเลข ๑๑๐๗ สายตาก-บ้านตาก ไปประมาณ ๓๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข ๑๑๗๕ ไปประมาณ ๑ กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ

น้ำตกแม่ระเมิง



น้ำตกแม่ระเมิง เป็นจุดที่สามารถชมทะเลหมอก และดูพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามมีอยู่หลายจุด ได้แก่ ม่อนกระทิง ม่อนพูนสุดา ม่อนครูบาไส และม่อนกิ่วลมคำแนะนำ สำหรับคนที่กลัวทากควรเตรียมอุปกรณ์กันทากไปด้วย ควรใส่รองเท้าที่กระชับ เกาะพื้น และควรมีน้ำดื่มติดไปด้วย อัตราค่าเข้าอุทยานฯ ชาวไทย เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก ๑๐๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาท รถยนต์ ๔ ล้อ ๓๐ บาท (ไม่รวมคนขับ) สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพัก จำนวน ๓ หลัง ราคา ๑,๐๐๐ บาท หากต้องการให้อุทยานฯ บริการด้านอาหารต้องติดต่อก่อนล่วงหน้า ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่เมย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ๖๓๑๕๐โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๙๖๔๔ การเดินทาง รถยนต์ จากตัวเมืองตากไปตามเส้นทางสายแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕) ระยะทางประมาณ ๑๑๔ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือที่จุดตรวจแม่สลิดเป็นทางที่จะตัดไปสู่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นทางขึ้นเขาไปอีกประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ทางขึ้นเขาเป็นทางชันรถบัสใหญ่ไม่สามารถขึ้นไปได้ (หมายเหตุ เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ ช่วงแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง เป็นเส้นทางเรียบชายแดนจึงไม่แนะนำให้เดินทางผ่านช่วงหลังเวลา ๑๘.๐๐ น.) รถประจำทาง ให้นั่งรถสองแถวจากแม่สอดไปบ้านแม่สลิดหลวง หลังจากนั้นต้องเหมารถต่อไปที่ทำการอุทยานฯ

สอบถาม ข้อมูลท่องเที่ยว เบอร์โทรสถานที่ต่างๆ โทร. 1672 (การท่องเที่ยว)

น้ำตกผาเทวะ


น้ำตกผาเทวะ เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะได้พบในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเป็นน้ำตกที่เด่นที่สุดในอุทยานฯ มีความสูง ๑๕๐ เมตร เวลาที่อยู่ใกล้ ๆ จะมองเห็นสายน้ำทิ้งตัวลงจากหน้าผา ส่งให้สายน้ำไหลแรงมากระทบโขดหิน และแอ่งน้ำเบื้องล่าง ป่ารอบ ๆ บริเวณจึงชุ่มชื้น และฉ่ำเย็นด้วยละอองของน้ำที่กระจายไปทั่ว สายน้ำสีขาวของผาเทวะที่ไหลยาวไปสู่เบื้องล่างสามารถมองเห็นได้จากอีกยอดเขาหนึ่ง เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาจะพบ ทุ่งหญ้านิรนาม เป็นทุ่งหญ้า และหุบเขาสามารถพักแรมได้ เป็นจุดมีทิวทัศน์สวยงาม และบรรยากาศเย็นสบาย ซึ่งถ้าตื่นมาตอนเช้าจะมองเห็นทะเลหมอกได้ถ้าฟ้าเปิด ใกล้ ๆ บริเวณจะพบหลุมขุดแร่เป็นระยะ ๆ เพราะที่นี่เคยเป็นพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่มาก่อน และบริเวณกลางป่ามีเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของหญิงสาวที่เลือกมาผูกคอตายเพราะผิดหวังในความรัก

น้ำตกป่าหวาย

น้ำตกป่าหวาย เป็นน้ำตกหินปูนจากห้วยป่าหวายมีน้ำไหลตลอดปี บริเวณน้ำตกมีไม้หวายเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ สายพบพระ-อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายก่อนถึงกิโลเมตรที่ ๔๒ อยู่ก่อนถึงบ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก
สอบถาม ข้อมูลท่องเที่ยว เบอร์โทรสถานที่ต่างๆ โทร. 1672 (การท่องเที่ยว)

อุทยานแห่งชาติแม่เมย


อุทยานแห่งชาติแม่เมย อยู่ในเขตอำเภอท่าสองยาง มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนสหภาพพม่าโดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นแบ่งเขตแดน บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีการจัดภูมิทัศน์ และตกแต่งพื้นที่ด้วยไม้ประดับดูสวยงาม บรรยากาศโดยรอบที่ทำการสงบร่มรื่นด้วยป่าเขา และยังมีสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น กวาง ละมั่ง เป็นต้น นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ใช้เวลาเดินประมาณ ๖ ชั่วโมง ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางโดยติดต่อล่วงหน้าที่อุทยานฯ เป็นเส้นทางเดินแบบไปเช้า-เย็นกลับ หรือจะพักแรมก็ได้ ระหว่างเส้นทางที่เดินเป็นทางขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้าง ทางเดินไม่ชันมาก เดินเรียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ ผ่านน้ำตกเล็ก ๆ บางครั้งต้องปีนบันไดไม้ไผ่ที่สร้างขึ้นขนานไปกับน้ำตก ละอองน้ำจากน้ำตกจะกระเด็นเข้ามาปะทะที่ใบหน้าทำให้สดชื่นขึ้น หากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะพบดอกไม้ป่านานาชนิดหลากสีสันบานอยู่ริมทางเดินหรือริมน้ำตก เช่น ดอกกระทือสีแดง ดอกบัวตองสีเหลืองบานเป็นกอชวนสะดุดตาตัดกับผืนป่าสีเขียว บางดอกซ่อนตัวอยู่กับพรมมอสสีเขียว

ถ้ำแม่อุสุ


ถ้ำแม่อุสุ
อยู่ในเขตวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ หมู่ที่ ๔ บ้านมีโนะโค๊ะ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าสองยางไปทางเหนือประมาณ ๑๒ กิโลเมตร บนเส้นทางสายแม่สอด-แม่สะเรียง (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕) เลยกิโลเมตรที่ ๙๔ ไปเล็กน้อย จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถ้ำแม่อุสุแห่งนี้เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่ มีเพดานสูง อากาศโปร่ง และไม่มืดนัก มีลำห้วยแม่อุสุไหลผ่าน ถ้าเดินทางเข้าไปในถ้ำนี้จะต้องเดินลุยน้ำห้วยแม่อุสุ ถ้าในช่วงฤดูฝนระดับน้ำจะสูงมาก ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยรูปร่างต่าง ๆ ดูสวยงาม ทางด้านตะวันตกจะมีโพรงหินขนาดใหญ่ และในตอนบ่ายจะมีแสงแดดส่องเข้ามาทำให้ถ้ำดูสวยงาม ทางเดินไม่ลำบาก ถ้าหากปีนขึ้นไปจนทะลุโพรงหินก็จะยิ่งสวยงาม เมื่อเดินเข้าไปในถ้ำสักระยะหนึ่งแล้ว หันกลับมาดูทางเข้าก็จะเห็นลำห้วยที่ไหลคดเคี้ยวออกจากถ้ำที่มืดไหลไปสู่ปากถ้ำที่สว่าง และบริเวณด้านหลังเป็นทุ่งหญ้า สีเขียวที่สวยงาม

วัดจองคำ

วัดจองคำ อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระประธาน มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว

หนองจองคำ

นักท่องเที่ยวที่มาแม่ฮ่องสอนนั้น ขาดไม่ได้ที่จะต้องมาสักการะบูชาพระที่วัดจองคำและวัดจองกลางตั้งอยู่ติดกับถนนคนเดิน พอดีครับ วัดนี้ช่วงกลางคืนละติดไฟประดับ ด้วยเหตุที่อยู่ติดกับหนองจองคำ ช่วงกลางคืนไฟที่กระทบกับผิวน้ำวิวจะสวยมากครับ สำหรับหนองจองคำนั้นเป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นหนองน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีน้ำตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองและนักท่องเที่ยว และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีที่ สำคัญ ๆ ของจังหวัดด้วย ว่ากันว่าเป็นหนองน้ำโบราณมีน้ำทั้งปีเกิดตั้งแต่สร้างเมืองแม่ฮ่องสอนเลยครับ
มาทำความรู้จักวัดจองคำกันสักนิดก่อนเดินเที่ยวถนนคนเดินที่นี่ วัดจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระประธาน มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปล มาเที่ยวถนนคนเดินก็ควรเดินไปไปไหว้หลวงพ่อโตกันก่อนครับผมที่หมูหินและหมูน้อยชอบมากๆ ก็คือของกินแบบชาวเหนือนั่งกินริมหนองจองคำ จะเป็นโต๊ะเตี้ยๆ ไม่มีเก้าอี้เราต้องนั่งกับพื้นเอง สามารถสั่งอะไรจากตรงไหนมาทานก็ได้ นั่งกันริมหนองจองคำดูวิวสวยๆ ดูชาวเขาเดินซื้อของไปมา แถวนี้มีเกรสเฮ้าร์หลายที่ฝรั่งก็มาเดินหาของกิบแบบเราเช่นกัน แต่ฝรั่งที่นี่ยังน้อยกว่าที่ปาย ที่ปายเหมือนเมืองฝรั่งที่คนไทยไปเที่ยวเลยล่ะครับ
สำหรับร้านอาหารแถวนี้มีไม่กี่ร้าน แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองไม่ใหญ่ นักท่องเที่ยวก็เที่ยวมากแค่ช่วงหน้าหนาวร้านแถวนี้จึงมีไม่กี่ร้าน ร้านที่หมูหินไปชิมมาคือร้าน "ครัวทิพย์" และร้าน "เลคไซต์บาร์" ร้านครัวทิพย์นั้นขายอาหารพื้นเมืองแท้ๆ อร่อยมากๆ ส่วนเลคไซต์บาร์ก็เป็นบาร์ขายเหล้า เบียร์ นั่งที่ทั้งสองร้านนี้ติดหนองจองคำเลย ติดถนนคนเดินเลย นั่งพักจิบเบีย์สักนิดแล้วค่อยเดินต่อก็ได้ครับ
จุดเด่นของถนนคนเดินของแม่ฮ่องสอนเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ คือที่แม่ฮ่องสอนถนนคนเดินจะมีความเป็นชาวเขาสูง ชาวเขามาเดิน มาขายของแบบธรรมชาติ ได้บรรยากาศมากๆ ส่วนถนนคนเดินที่เชียงใหม่จะยาว มีของมากมาย มากๆๆๆ นักท่องเที่ยเดินกันแน่นไปหมด ดูแล้วเป็นเมืองแห่งธุระกิจเต็มตัว ส่วนถนนคนเดินที่ลำปางชื่อว่ากาดกองต้า มีวันศุกร์เสาร์ ที่นี่ก็มีของขายแบบชาวบ้านๆ แต่ไม่มากนัก เป็นพวกของถูกเสียมากกว่า ส่วนถนนคนเดินที่เชียงรายก็เป็นไนท์บราซ่า เน้นนักท่องเที่ยวฝรั่งครับ ทุกถนนคนเดินเราจะนำเสนอท่านให้ครบตามหมูหินกันต่อไปละกัน วันนี้แค่ถนนคนเดินที่มฮ่องสอนก่อนนะครับมาเที่ยวถนนคนเดินที่แม่ฮ่องสอน ท่านโชคดีก็จะเจอกระเหรี่ยงคอยาว มาเดินซื้อของ มาเดินเที่ยว โดยเป็นกระเหรี่ยงคอยาวๆ แท้ๆ จากหลายหมู่บ้าน เดินมาซื้อหาของกัน หมูหินก็เจอครับมาเที่ยวครั้งนี้เจอสองสามคน ก็ขอถ่ายรูปคู่กับเขาด้วย ได้บรรยากาศของการท่องเที่ยวแบบชาวเขาจริงๆครับ
หน้าหนาวของแม่ฮ่องสอนอากาศดีมากน่าเที่ยวจริงๆ เดินซื้อหาของ จิบไวน์ เบียร์แก้หนาว ถ่ายรูปไหว้พระ ครบสูตรครับ ก็ขอเชิญพ่อแม่พี่น้อง พี่ป้าน้าอา มาเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาเดินเที่ยวถนนคนเดินกันก่อน และก็ตามด้วยทุ่งบัวตอง ปางอุ๋ง จิบชาบ้านรักษ์ไทย แม่ฮ่องสอนยังเป็นเมืองในฝันของนักท่องเที่ยวเสมอ มาเที่ยวกันนะครับ
ขอขอบคุณทีเอ็นทัวร์ 107/17 ถ.ขุนลุมประพาส. ต.จองคำ อ.เมือง. จ.แม่ฮ่องสอน 58000. 0-5362-0557 ซึ่งเป็นทั้งที่พักและจัดทัวร์ให้นักท่องเที่ยวด้วย สนใจเที่ยวทุ่งบัวตอง ปางอุ๋ง บ้านรวมไทย จะมาแม่ฮ่องสอนก็ลองโทรหาพี่อร ซึ่งเป็นเจ้าของดูก่อนได้ แกบริการดีมากครับ

มาเดินซื้องของถนนคนเดินกันต่อครับ ถนนคนเดินที่นี่มีสินค้าที่นำมาขายหลายอย่าง หลักๆก็จะเป็นผ้างานฝีมือของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีเสื้อผ้า อาหารแบบชาวเหนือ บริเวณริมหนองจองคำมีโต๊ะนั่งกินข้าว ส้มตำ บรรยากาศดีมาก นอกจากนั้นก็มีของแต่งบ้าน ไวน์มะเม่า(รสชาติดีมาก) ขวดละสองร้อยบาท ชิมฟรีครับ ร้านเสื้อผ้าตรงวัยรุ่นก็มีเดินเลือกซื้อได้ไม่เบื่อเลยครับ ความยาวของถนนคนเดินผมประมาณว่า 100 เมตร ช่วงกลางคืนจะมีการแสดงศิลปะแบบชาวเขาตรงหน้าไปรษณีย์ ซึ่งอยู่ตรงหัวถนนพอดีครับ

วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง


วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ (อยู่ติดกับตลาดเช้าบริเวณสี่แยกไฟแดง) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก มีประวัติว่าหล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” ซึ่งเป็นเจ้าพาราละแข่งองค์จริง ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยลุงจองโพหย่า เดินทางไปนิมนต์มา พระเจ้าพาราละแข่งองค์นี้สร้างเป็นท่อนๆ ทั้งหมด ๙ ท่อน ล่องมาตามแม่น้ำปาย แล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอนและนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง หรือวัดกลางเมือง ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง ปัจจุบันวิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่งสร้างใหม่เสร็จเรียบร้อยและยังคงโครงสร้างของวิหารตามรูปแบบเดิมไว้

วัดก้ำก่อ จ.แม่ฮ่องสอน


วัดก้ำก่อ (เป็นภาษาไตแปลว่า ดอกบุนนาค) ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระนอน เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่แพ้วัดอื่น โดยเฉพาะลักษณะพิเศษที่มีหลังคาคลุมทางเดิน ตั้งแต่ซุ้มทางเข้าไปสู่ศาลา นอกจากนี้ยังมีตำราภาษาไทยใหญ่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยใหญ่กับเจ้าอโนรธามังช่อ ปัจจุบันได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยพระมหาบุญรักษ์ สุปัญโญ ท่านเจ้าอาวาสวัดนี้

วัดพระนอน



วัดพระนอน
ตั้งอยู่ตำบลพิหารแดง เลยวัดหน่อพุทธางกูรไปเล็กน้อย วัดพระนอนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมี อุทยานมัจฉา อยู่บริเวณริมน้ำหน้าวัด มีปลานานาชนิดชุกชุม ทั้งปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาแรด ทางวัดประกาศเป็นเขตอภัยทาน ปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผลและไม้ประดับ บริเวณวัดจึงร่มรื่นสวยงาม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแห่งหนึ่งของจังหวัด และยังมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักจากหิน มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในลักษณะนอนหงายขนาดเท่าคนโบราณยาวประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายกับพระนอนที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งใน Unseen Thailand อีกด้วย

วัดพระธาตุ ดอยกองมู


วัดพระธาตุดอยกองมู ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางลาดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด
วัดพระธาตุ ดอยกองมู เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือตักบาตรเทโวด้วย
---------------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พักแม่ฮ่องสอน
เม้าท์เทน อินน์ & รีสอร์ท



122/2 ถ.ขุนลุมประพาส โทร 02-1641001 to 9 ราคา 950-3,950 บาท
สวัสดี เพลส



29 หมู่ 8 ต.ปางหมู อ.เมือง โทร 02-1641001 to 9 ราคา 450-550
อิมพีเรียลธารา แม่ฮ่องสอน



149 หมู่ 8 ต.ปางหมู โทร 02-1641001 to 9 จำนวน 104 ห้อง ราคา 1,677-4,000 บาท

วัดพระยืน, ลำพูน


พระยืน ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านพระยืน หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีเนื้อที่ประมาณ ๒๙ ไร่ ๒ งาน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ชื่อ “ วัดพระยืน ” เรียกตามปูชนียวัตถุสำคัญที่อยู่ในวัด คือพระยืน ( พระพุทธรูปยืน ) ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระยืนนี้ ได้มีการกล่าวไว้ในหนังสือตำนานหลายเล่ม อาทิ ในหนังสือ ตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวถึงตอนที่พระญากือนาได้อาราธนานิมนต์พระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัย เพื่อมาเชียงใหม่ โดยได้พักที่วัดพระยืน ในเมืองหริภุญชัย ราว พ . ศ . ๑๙๑๒ ซึ่งขณะนั้นได้มีพระยืน ๑ องค์อยู่ก่อนแล้ว แต่บริเวณนั้นเป็นป่า พระญากือนาจึงให้คนไปแผ้วถาง แล้วสร้างพระพุทธรูปยืนเพิ่มอีก ๓ องค์ โดยองค์หนึ่งให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ และอีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ และสร้างมณฑปครอบพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ องค์นี้ไว้ ต่อมามณฑปที่ได้สร้างไว้นั้นทรุดโทรมและปรักหักพังลง โดยเฉพาะที่ส่วนยอดพังลงมาจนถึงซุ้ม ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในมณฑปคงเหลือที่สมบูรณ์เพียงด้านทิศตะวันออกองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้นในสมัยของ เจ้าหลวงอินทยงยศ จึงได้ให้ หนานปัญญาเมือง ชาวบ้านหนองเส้งซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวงเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างครอบของเดิมที่ปรักหักพังไป แล้วให้นำเอาอิฐ หิน และดินที่พังลงมานั้น ใส่ถมพระมณฑปองค์เดิมที่มีพระพุทธรูปยืนเหลือเพียงองค์เดียวนั้นจนหมดสิ้น มณฑปองค์ใหม่นี้ทำจากศิลาแลงและอิฐบางส่วน และประดับลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงกว่าเดิมมาก มีบันไดที่ตกแต่งด้วยเหงาทอดขึ้นสู่มณฑปทั้ง ๔ ด้าน บนมณฑปมีลานทักษิณล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ที่มุมประดับด้วยสถูปิกะ หรือเจดีย์บริวาร ถัดจากฐานมีเรือนธาตุย่อเก็จ และซุ้มจระนำ ๔ ด้าน โดยยึดรูปแบบคล้ายกับองค์เดิมที่สร้างในสมัยของพระญากือนา แต่ละซุ้มประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปยืน เหนือขึ้นไปเป็นมาลัยเถาสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น และมีมุมประดับด้วยสถูปิกะ ส่วนยอดประดับด้วยฉัตร นอกจากนั้นยังมียอดเล็ก ๆ ที่ประดับรอบยอดใหญ่อีก ๔ ยอด อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่ารูปลักษณะของมณฑปวัดพระยืนนี้ คล้ายกับมณฑปสัพพัญญูในเมืองพุกามประเทศพม่า ทั้งนี้คงเนื่องมาจากชาวพม่าเข้ามาอาศัยในล้านนาและได้มีส่วนสร้างหรือสนับสนุนในการบูรณะมณฑปพระยืนแก่หนานปัญญาเมือง ความสูงของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เมื่อเทียบกับระดับของพระพุทธรูปเดิมที่ถูกถมอยู่ข้างในแล้ว ระดับของพระนลาฏของพระองค์เดิมจะอยู่ในระดับเดียวกับระดับพระบาทของพระยืนองค์ที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการห้ามสตรีขึ้นไปบนเจดีย์ การก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่เริ่มขึ้นในปี พ . ศ . ๒๔๔๔ และสำเร็จลงในปี พ . ศ . ๒๔๕๐
--------------------------------------------------------------------------
แนะนำที่พัก ลำพูน
Gassan Marina



99 Moo 17 อำเภอเมือง จ. ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Lake City



88 Moo7, อำเภอบ้านธิ, ตำบลบ้านธิ, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Khuntan



222 หมู่ 3, อำเภอแม่ทา, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9

วัดจามเทวี, ลำพูน


วัดจามเทวี
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1298 เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ. 1298 เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า กู่กุด หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ
นอกจากนั้นยังมี รัตนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40 เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร องค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์


แนะนำที่พัก ลำพูน
Gassan Marina



99 Moo 17 อำเภอเมือง จ. ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Lake City



88 Moo7, อำเภอบ้านธิ, ตำบลบ้านธิ, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Khuntan



222 หมู่ 3, อำเภอแม่ทา, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9



วัดมหาวันวนาราม, ลำพูน

วัดมหาวันวนาราม
วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนวัดมหาวันวนารามสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิม อยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตัง คมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมา ในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง


แนะนำที่พัก ลำพูน
Gassan Marina



99 Moo 17 อำเภอเมือง จ. ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Lake City



88 Moo7, อำเภอบ้านธิ, ตำบลบ้านธิ, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9
Gassan Khuntan



222 หมู่ 3, อำเภอแม่ทา, ลำพูน โทร. 02-1641001 to 9



พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท


เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2508 และเสร็จเมือปี พ.ศ. 2513 นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วน และใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล ทางเข้าวัดอยู่บริเวณเชิงสะพานแม่น้ำน่าน

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร



อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ คือ

ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่

วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่

ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่ง ก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย

เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง

ข้อมูลทั่วไป จังหวัดพิจิตร
การเดินทาง จังหวัดพิจิตร
เทศกาล งานประเพณี
โรงแรมในพิจิตร
ร้านอาหาร ในจังหวัดพิจิตร
ของฝาก ของที่ระลึก
กิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ
ตัวอย่างโปรแกรมท่องเที่ยว
เว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ท่องเที่ยว อ.เมือง
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ทางหลวงหมายเลข 115 และ ทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6

วัดท่าหลวง


เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตร เพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน
พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว



:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว และวนอุทยานภูแดงร้อน โดยมีน้ำตกสวยงามที่เกิดขึ้นตามลำน้ำแควน้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีพื้นที่ประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกความเป็นมา: เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่บริเวณป่าต่างๆ กำลังถูกบุกรุกทำลายและยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขาดความสมดุลทางธรรมชาติเป็นผลให้เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพื่อเป็นการขจัดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและยึดถือครอบครองแผ้วถางพื้นที่ป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ให้หมดไป และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เพิ่มมากขึ้น กรมป่าไม้ได้รับรายงานจากสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกว่า พื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแควและพื้นที่วนอุทยานภูแดงร้อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และป่าบริเวณข้างเคียงยังมีสภาพสมบูรณ์มีความเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 911/2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ให้ นายจงคล้าย วรพงศธร นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อยและป่าสวนเมี่ยง จังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้รับรายงานว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสม ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที่ตำบลบ้านยาง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าสวนเมี่ยง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 1,158 พ.ศ. 2529) ท้องที่ตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 977 พ.ศ. 2525) ในท้องที่ตำบลหนองกระยาง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 163,125 ไร่ หรือ 261 ตารางกิโลเมตร โดยไม่มีปัญหาการบุกรุกพื้นที่ เนื่องจากได้กันเขตหมู่บ้านและที่ทำกินของราษฎรรวมทั้งพื้นที่ สทก. สปก. ออกจากเขตที่จะ กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว มีอาณาเขตทิศเหนือจดกับเขาอุโมง ทิศใต้จดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทิศตะวันออกจดกับบ้านโป่งปะ ทิศตะวันตกจดกับบ้านหนองกะบาก
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาวสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง หนาแน่นด้วยพรรณไม้ที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด เช่น สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะเคียน ยาง ฯลฯ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เช่น เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง อีเห็น เม่น กระต่าย นกมากมายหลายชนิด งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด โดยเฉพาะสัตว์น้ำจำพวกปลามีมากหลายชนิด
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควต.แก่งโสภา อ. วังทอง จ. พิษณุโลก 65220

รถยนต์
การเดินทางไปยังพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควสามารถเข้าได้หลายทาง โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) แยกเข้าบ้านนาขามที่อำเภอวัดโบสถ์ ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) แยกเข้าบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ระยะทาง 95 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 450 กิโลเมตร
:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
แก่งเจ็ดแคว เป็นแนวหินอยู่ในลำน้ำแควน้อย มีสันดอนเป็นพื้นที่ป่าอยู่ตรงกลางลำน้ำ ทำให้ลำน้ำแควน้อยแยกออกเป็น 7 สาย ฤดูน้ำหลากที่กระแสน้ำไหลแรงจะมีเสียงน้ำ กระทบโขดหินดังกึกก้อง ฤดูแล้งน้ำน้อยแต่ใสจะมองเห็นแนวหินโขดหิน
แก่งลานกลอย เป็นแนวพื้นหินกว้างกวางลำน้ำแควน้อย
แก่งคันนาน้อย มีลักษณะเป็นหินสูงอยู่กลางลำน้ำแควน้อย อยู่ห่างจากแก่งเตาเหล็กประมาณ 1.5 กิโลเมตร
แก่งบัวคำ เป็นแก่งที่สวยอีกแห่งหนี่งอยู่ระหว่างป่าเขากระยางกับป่าสวนเมี่ยง บ้านแก่งบัวคำ
ทางเดินศึกษาธรรมชาติแก่งเจ็ดแคว ระยะทางประมาณ 800 เมตร มีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติสำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเส้นทาง จำนวน 7 แห่ง ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณครึ่งชั่วโมง
จุดชมทิวทัศน์บ้านหนองหิน ซึ่งจะเห็นสภาพป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
น้ำตก 9 ชั้น ในป่าเขากระยาง ซึ่งสวยงามมากในฤดูฝนอยู่บริเวณบ้านห้วยพลู ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
น้ำตก 5 ชั้น อยู่ห่างจากน้ำตก 9 ชั้น ประมาณ 500 เมตร สามารถทำเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษา ธรรมชาติได้อีกแห่ง
แก่งเตาเหล็ก เป็นลานหินกว้างอยู่กลางลำน้ำแควน้อย มีความสวยงามแตกต่างจากแก่งเจ็ดแคว โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร
แก่งโจน เป็นลานหินอยู่กลางลำน้ำแควน้อย มีความสูงต่างระดับประมาณ 5 เมตร มีปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำไหลแรงเป็นจำนวนมาก เช่น ปลาดัก ปลาเสาหิน ปลาลูกผึ้ง ฯลฯ สามารถมองเห็นปลาเหล่านี้กระโดดขึ้นจากน้ำเพื่อไปวางไข่บนพื้นน้ำซึ่งอยู่เหนือน้ำขึ้นไป อยู่ห่างจากแก่งคันนาน้อยประมาณ 500 เมตร
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติ ยังไม่ที่พัก-บริการไว้บริการนักท่องเที่ยว มีแต่สถานที่กางเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุทยานแห่งชาติจัดตั้งใหม่ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ



:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพทั่วไปเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นต้นว่า น้ำตกชาติตระการ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “น้ำตกปากรอง” เพราะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปากรอง หน้าผาสูงชันที่มีสีสันผิดแปลกกัน เป็นร่องรอยของศิลปยุคแรกของมนุษย์ คือ รอยแกะสลักกับแผ่นดินและจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาสูงๆ มีเนื้อที่ประมาณ 339,375 ไร่ หรือ 543 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา: ด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในท้องที่ตำบลนครไทย ตำบลน้ำกุ่ม อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้เสนอผ่านนายประเทือง วิจารย์ปรีชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก ขอให้กรมป่าไม้เข้าไปจัดการพื้นที่บริเวณป่าเขาย่าปุก ซึ่งมีน้ำตกสวยงามเป็นวนอุทยาน เพื่อสงวนทรัพยากรป่าไม้และป่าต้นน้ำของลำแควน้อย ในปี พ.ศ. 2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้เริ่มดำเนินการจัดสำรวจและจัดตั้งวนอุทยานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “วนอุทยานเขาย่าปุก” ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ” ตามชื่ออำเภอชาติตระการต่อมากรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0706/10459 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2525 แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก กองอุทยานแห่งชาติ และ กองจัดการป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจคณะทำงาน โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก และกองจัดการป่าไม้ เห็นควรกำหนดบริเวณน้ำตกชาติตระการ และพื้นที่ป่าเขาย่าปุก เนื้อที่ประมาณ 253 ตารางกิโลเมตร หรือ 146,875 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ (นายภูมิ สมวัฒนศักดิ์ ช่างโยธา 3) เห็นควรกำหนดพื้นที่ที่ได้ทำการสำรวจทั้งหมด เนื้อที่ประมาณ 1,274 ตารางกิโลเมตร หรือ 764,250 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อคณะทำงานทำการสำรวจพื้นที่ฯได้พิจารณาขอบเขตถึงความเหมาะสม โดยได้พิจารณาถึงการจัดการอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ ที่ทำการสำรวจประมาณครึ่งหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2528 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ให้คำนึงถึงความเป็นไปได้การจัดการอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ป่าไม้ในส่วนดังกล่าวด้วย กองอุทยานแห่งชาติ จึงกำหนดพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน คลอบคลุมพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำแคว ลำน้ำภาค ทั้งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเหมาะสม ต่อการจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าวิจัย เนื้อที่ 339,375 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำภาค ป่าลำน้ำแควน้อยฝั่งซ้ายป่าแดง และป่าชาติตระการ ในท้องที่ตำบลชาติตระการ และตำบลน้ำกุ่ม ตำบลนครชุม ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 220 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำภาค แม่น้ำแควน้อย ภูเขาหินทรายโดยเฉพาะหน้าผาบริเวณ น้ำตก เพราะเกิดจากการเรียงตัวของชั้นหิน ประเภทหินทราย ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานาน ดินเป็นดินทรายเพราะต้นกำเนิดของดินบริเวณนี้คือ หินทราย
:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
โดยทั่วไปอากาศเย็นสบายดี ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์อากาศจะหนาวมากในเวลากลางคืน
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเต็งรัง อยู่ในบริเวณสภาพดินค่อนข้างต่ำ เป็นดินลูกรัง พรรณไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง ประดู่ พะยอม เป็นต้น และป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ในบริเวณริม ลำธารและพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง กระบาก ก่อ มะม่วงป่า มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย และไผ่ต่าง ๆ สัตว์ป่าส่วนใหญ่ จะเข้าไปอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง - ภูทอง ซึ่งอยู่ใกล้กัน สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กระจง กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการหมู่ 3 บ้านปากรอง ต.ชาติตระการ อ. ชาติตระการ จ. พิษณุโลก 65170โทรศัพท์ : 0 5523 7028 โทรสาร : 0 5523 7028

รถยนต์
- จากจังหวัดพิษณุโลกไปได้ 2 เส้นทางคือ ไปตามเส้นทางหลวงพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอนครไทย และจากอำเภอนครไทย เดินทางสู่ อำเภอชาติตระการ ก่อนถึงอำเภอชาติตระการ 1 กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางของอุทยานฯ อีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 145 กิโลเมตร- เส้นทางสายพิษณุโลก - วัดโบสถ์ จากอำเภอวัดโบสถ์เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางสายวัดโบสถ์ - คันโซ้ง - โป่งแค่ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าอำเภอชาติตระการ และเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางเข้าอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางจากจังหวัดพิษณุโลก ถึงอำเภอชาติตระการ ทุก 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00 น. ถึง 17.00 น. จากอำเภอชาติตระการโดยสารรถเมล์เล็กสายชาติตระการ - บ่อภาค - ร่มเกล้า ประมาณ 9 กิโลเมตร จากนั้น เดินเท้าเข้าสู่อุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 1 กิโลเมตร หรือจากอำเภอชาติตระการ โดยสารมอเตอร์ไซด์รับจ้า งเข้าสู่อุทยานแห่งชาติโดยตรง
:: แหล่งท่องเที่ยว :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
น้ำตกชาติตระการ เป็นน้ำตกที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป มีชื่อเรียกตามชั้นต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1 ชื่อ “มะลิวัลย์” เป็นน้ำตกที่ตกจากช่องผาสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกจะตกลงสู่ธารน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแอ่งวงกลมเหมาะสำหรับลงเล่นน้ำ บริเวณริมแอ่งน้ำ เป็นหาดทรายเล็กๆ สวยงามมาก ชั้นที่ 2 ชื่อ “กรรณิการ์” ลักษณะของน้ำตกจะลดหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นชั้นๆ ดูสวยงาม แต่ไม่เหมาะต่อการลงเล่นน้ำ เพราะน้ำจะไหลวนลงสู่ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 3 ชื่อ “การะเกด” มีความสวยงามพอสมควร น้ำตกชั้นที่ 4 ชื่อ “ยี่สุ่นเทศ” น้ำไหลเป็นสายกว้างลงสู่แอ่งน้ำน่าลงเล่นน้ำ น้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อ “เกศเมือง” ชั้นที่ 6 ชื่อ “เรืองยศ” และชั้นที่ 7 ชื่อ “รจนา” ทั้ง 3 ชั้น เป็นน้ำตกเล็กๆ หน้าผาบริเวณน้ำตก มีสภาพธรรมชาติที่สวยงามมีสีสรรต่างๆ บริเวณหน้าผาน้ำตกชั้นที่ 1 ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน จะมีฝูงผึ้งบินมาทำรังเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่แปลกตามธรรมชาติ
น้ำตกนาจาน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางบ้านนาจาน 3 กิโลเมตร จากบ้านนาจานเดินเท้าอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางมีทั้งหมด 7 ชั้น เริ่มจากชั้นที่ 1 จะมีลักษณะไหลเอื่อยๆ ไม่สูงนัก ชั้นนี้จะมีหินมากและลื่น ชั้นที่ 2 จะมีลักษณะที่สวยงามมาก สูงประมาณ 7-10 เมตร ทางลงเป็นดินค่อนข้างลื่น ชั้นที่ 4 มีความสวยงามเป็นพิเศษ น้ำตกไหลลงมาพร้อมกันที่เดียว 3 สาย สูงประมาณ 20 เมตร และกว้างประมาณ 50 เมตร น้ำตกนาจานชั้นที่ 1-4 อยู่ห่างกันไม่มากนัก ชั้นที่ 4-5 อยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร ชั้นที่ 5-6 ห่างกันประมาณ 100 เมตร ชั้นที่ 6-7 ห่างกันประมาณ 30 เมตร สภาพเส้นทางจะมีความลาดชันปานกลาง หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเที่ยวชม ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพื่อนำเที่ยว
น้ำตกผาคุคา หรือน้ำตกนาหิน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.4 (น้ำกุ่ม) ประมาณ 4 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าจากวัดชัยวราราม (วัดนาหิน) เป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่ตกจากหน้าผาสูง 50 เมตร ลงมายังแอ่งน้ำ แล้วไหลลอดผ่านช่องหินมาเป็นลำธารเบื้องล่าง ลักษณะคล้ายห้องขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลสองสายมีความสวยงามอย่างยิ่ง สำหรับในช่วงฤดูแล้ง จะมีน้ำไหลเพียงสายเดียว แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้กัน สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์
เขาช้างล้วง มีสัณฐานคล้ายลูกช้างหมอบ เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เป็นสถานที่ปักธงแห่งพ่อขุนบางกลางท่าวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจ้าเมืองบางยาง ก่อนและหลังทำศึกสงครามประเพณีปักธงชัยเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชาวอำเภอนครไทย ที่จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 12 จากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.2 (เขาช้างล้วง) ขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงเขาฉันเพลซึ่งเป็นหินก้อนใหญ่สูงประมาณ 15 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอนครไทยได้โดยรอบ เมื่อเดินทางต่อไปอีกประมาณ 400 เมตร จะถึงเขายั่นไฮ มีลักษณะเป็นหน้าผาตระหง่านสูงประมาณ 15 เมตร และมีบันไดขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อดูทิวทัศน์ของอำเภอนครไทย และเป็นสถานที่ปักธงชัยอีกแห่งหนึ่ง จากจุดนี้สามารถมองเห็นยอดเขาช้างล้วง จากนั้นเดินทางต่อ จากเขายั่นไฮไปอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงยอดเขาช้างล้วงซึ่งสูงประมาณ 15 เมตร เป็นสถานที่ที่ชาวอำเภอนครไทย นำธงขึ้นไปปัก และเป็นเทือกเขาที่สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง
ผาแดง เป็นหน้าผาชัน ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงสวยสดงดงามตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ถัดจากน้ำตกชาติตระการ ชั้นที่ 4 ไปทางขวามือประมาณ 450 เมตร บริเวณผาแดงจะเป็นจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองลงมาเบื้องล่างได้ซึ่งจะเห็นสภาพป่าสมบูรณ์ และภาพบ้านเรือนของอำเภอชาติตระการ การประกอบอาชีพเกษตร ปลูกข้าว ทำนา เขียวสะพรั่ง
:: ด้านประวัติศาสตร์ ::
ผากระดานเลข เป็นแหล่งที่พบหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ว่า มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภาพการแกะสลักของมนุษย์ยุคหินโบราณ เป็นรูปทรงเรขาคณิต โดยเทคนิคการตอกสลักผสมการฝน (Pecking and abrading technique) บนหินทรายสีเทา ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า ตัวอักษรเหล่านี้เป็นการสื่อของมนุษย์ยุคหินโบราณ และครั้งหนึ่ง ณ พื้นที่แห่งนี้เคยมีมนุษย์ยุคหินอาศัยอยู่ เขากระดานเลขอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร
รอยตีนสัตว์ รอยตีนสัตว์อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตก ชาติตระการประมาณ 500 เมตร จากการสำรวจและพิสูจน์ของ ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น รวมกับกรมทรัพยากรธรณีและจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เบื้องต้นแจ้งว่าเป็นรอยตีนของนกโบราณในยุคไดโนเสาร์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร อุทยานฯ มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.





อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

:: ข้อมูลทั่วไป ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก อำเภอห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยาน แห่งชาติภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณ ให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิม ของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร

ต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกได้มีหนังสือที่ กษ 0725.07/5819 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2536 เรื่อง ขอจัดตั้งวนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้รายงานให้กรมป่าไม้ทราบว่า พื้นที่วนอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน บางจุดสูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ชายแดนติดต่อประเทศลาว ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ มีจุดเด่นที่น่าสนใจเป็นที่ดึงดูดให้ประชาชน นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ได้แก่ น้ำตก 5 ชั้น ชื่อว่า ภูสอยดาว มีเนื้อที่กว้าง 1,000 ไร่ มีความสวยงามมากและพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก จึงเห็นสมควรที่จะ รักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไว้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแล้ว และอยู่ในขั้นตอนจัดทำ/ปรับปรุง/แก้ไข รายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติในหลักการ ให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติต่อไป
:: ลักษณะภูมิประเทศ ::
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,800 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ราบประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำภาค และลำน้ำปาด
:: ลักษณะภูมิอากาศ ::
อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วไป 27.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,334.4 มิลลิเมตร/ปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
:: พรรณไม้และสัตว์ป่า ::
สภาพป่าในพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีความหลากหลายผสมกัน มีความต่าง ระดับของพื้นที่มาก ในพื้นที่ประกอบด้วย

ป่าสนเขา พบขึ้นในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,400 เมตรขึ้นไป เป็นป่าผืนใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่ม ชนิดไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ สนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ ดอกไม้ดิน เช่น ดอกหงอนนาค ดอกกุง เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่ขึ้นประกอบด้วย ก่อ ทะโล้ จำปาป่า กำลังเสือโคร่ง พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยเป็นพวกพืชในตระกูลขิง ข่า กูด กล้วยไม้ เป็นต้นไม้พุ่มชนิดต่างๆ

ป่าดิบชื้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตอุทยานห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ กระบาก ยาง จำปีป่า พะอง ก่อเดือย ก่อรัก พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัยได้แก่ สะบ้า กูด และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ

ป่าดิบแล้ง พบมากตอนกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในบริเวณที่เป็นหุบเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นมี ตะแบกใหญ่ สมพง พะยอม ตะเคียนทอง มะค่าโมง ยมหอม กระบก ฯลฯ

ป่าเบญจพรรณ พบอยู่ทั่วไปในแขตอุทยานแห่งชาติ ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 300-600 เมตร บริเวณที่ราบเชิงเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะแบก แดง ชิงชัน ประดู่ สมอพิเภก ตีนนก ตะคร้ำ พืชพื้นล่างได้แก่ ไผ่และหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าเต็งรัง พบขึ้นในพื้นที่บริเวณตอนล่างและตอนบน ขึ้นอยู่ในไหล่เขา เนินเขา และบริเวณที่ราบซึ่งเป็นดินลูกรัง ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง มะขามป้อม ส้าน อ้อยช้าง มะกอกป่า พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าคา และหญ้าเพ็ก เป็นต้น

ส่วนสัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมหลายชนิดที่พบเห็นและปรากฏร่องรอยได้แก่ เลียงผา กวางป่า เสือโคร่ง เก้ง หมีควาย หมูป่า ลิง อีเห็น เม่น กระต่ายป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพญาลอ นกเขาไฟ นกขุนทอง นกกระปูดใหญ่ งูจงอาง งูเหลือม ตะกวด ตะพาบน้ำ เป็นต้น
:: ที่ตั้งและการเดินทาง ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวต.ห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 53110โทรศัพท์ : 0 5541 9234-5

รถยนต์
จากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1246 ถึงบ้านแพะแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1143 ผ่านอำเภอชาติตระการ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1237 ผ่านบ้านบ่อภาคไปบรรจบกับเส้นทางแผ่นดินหมายเลข 1268 ถึงน้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว รวมระยะทางประมาณ 188 กิโลเมตร

จากจังหวัดอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 (อุตรดิตถ์-น้ำปาด) จนถึงอำเภอน้ำปาดแล้วเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1239 ไปอีก 47 กิโลเมตร จึงเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1268 ไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 1
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างอำเภอ ไปอำเภอชาติตระการ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
- ช่วงที่ 3 จากอำเภอชาติตระการ เดินทางด้วยรถสองแถว ซึ่งมีวันละ 1 เที่ยว รถออกเดินทางไม่เกิน 09.00 น. ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร

การเดินทางด้วยรถโดยสารวิธีที่ 2
- ช่วงที่ 1 จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลก
- ช่วงที่ 2 จากจังหวัดพิษณุโลก เดินทางด้วยรถรับจ้างเหมาไป-กลับ ราคาประมาณ 2,600 บาท ไปอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร

หมายเหตุ หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวแล้ว ไม่สามารถขึ้นยอดภูสอยดาวได้ทัน (อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาวตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น.) ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่อยู่ด้านล่างไว้แล้ว
:: แหล่งท่องเที่ยว ::
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทิวเขาส่วนมากทอดตัวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกมีความลดหลั่นสูงสลับซับซ้อน หุบเขา เนินเขา ก่อให้เกิดภาพรวมของภูมิทัศน์ที่สวยงามทั้งในการมองมุมกว้างและมุมแคบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเช้ามีเมฆหมอกปกคลุม อีกทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างเย็น และความชื้นในอากาศทุกฤดูก็มีอยู่สูง ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นของอากาศน่าพักผ่อนหย่อนใจ ในฤดูหนาวอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1-20 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีลมจากหุบเขาพัดผ่านจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้อากาศเย็นสบายไม่ร้อน

อุทยานแห่งชาติเปิดให้ขึ้นลานสนภูสอยดาว ตั้งแต่เวลา 8.00 - 14.00 น. ของทุกวัน โดยมีช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเดินทางไปเยือนดังนี้ ช่วงเดือนกันยายน - ต้นพฤศจิกายน บนลานสนภูสอยดาวจะเต็มไปด้วยพรรณไม้ดอกนานาชนิด เช่น หงอนนาค สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน บานสะพรั่งอวดความงามทั่วลานสนสามใบ ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนมกราคม เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น เหมาะแก่การสัมผัสความหนาวเย็นพร้อมชมทิวทัศน์ที่สวยงาม ชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามไม่แพ้ที่ใดในประเทศไทย เป็นช่วงที่กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์อินทนนท์ ออกดอกอวดสายตาผู้ที่ขึ้นไปเยือน รวมถึงใบเมเปิลแดงที่เปลี่ยนสีเพิ่มสีสันแก่ลานให้น่าสนใจมากขึ้น และในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม-31 มิถุนายน ของทุกปี อุทยานแห่งชาติปิดการพักแรมบนลานสนภูสอยดาว
:: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม ::
ลานสนสามใบภูสอยดาว เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ราบบนเทือกเขาภูสอยดาว ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป เป็นป่าสนสามใบ พืชชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี กลางทุ่งหญ้ามีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาคจะมีดอกสีม่วง ดอกสร้อยสุวรรณาจะมีดอกสีเหลือง และดอกหญ้ารากหอมจะมีดอกสีม่วงเข้มสวยงามมาก ฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิระหว่าง 1-5 องศาเซลเซียส มีดอกกระดุมเงิน, กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ,ใบเมเปิลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก การเดินทางไปเที่ยวลานสนสามใบภูสอยดาว ต้องเดินทางเท้าจากน้ำตกภูสอยดาวริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง โดยระหว่างเดินเท้าขึ้นสู่ลานสนสามใบภูสอยดาวจะพบ สภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามมาก ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย

น้ำตกภูสอยดาว ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นน้ำตกขนาดกลางในลำห้วยน้ำพายไหลลงสู่แม่น้ำปาดที่อำเภอน้ำปาด มีชั้นน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อไว้อย่างไพเราะว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน กรรณิการ์ และสุภาภรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

น้ำตกสายทิพย์ ตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างป่าดิบชื้นกับป่าสนเขา เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีสายน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามชั้นเตี้ยๆ รวม 7 ชั้น ความสูงแต่ละชั้นประมาณ 5-10 เมตร ฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมองดูสวยงามมากและมีน้ำไหลตลอด สภาพป่าโดยรอบน้ำตกมีความชุ่มชื้นมาก จึงมีมอสสีเขียวขึ้นปกคลุมทั่วไปตามก้อนหินริมน้ำ เมื่อขึ้นเที่ยวบนลานสนสามใบภูสอยดาวสามารถเที่ยวน้ำตกแห่งนี้ได้ด้วย

ลานหินลำน้ำภาค ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นหินธรรมชาติที่เกิดขึ้นสองริมฝั่งลำน้ำภาคไหลลงแม่น้ำแดงน้อย ที่อำเภอชาติตระการ มีความกว้างของลานหินฝั่งละประมาณ 10-15 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร
:: สิ่งอำนวยความสะดวก ::
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ



อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา
11 - 12 สิงหาคม 2551 ลูกพาแม่เที่ยวอุทยานแห่งชาติ ไม่เสียค่าบริการผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ (เฉพาะรายบุคคล ไม่เกิน 5 คน)

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเมืองและกิ่งอำเภอปางมะผ้า และด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน แนวเทือกเขาจะทอดยาวตามแนวเหนือใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ที่สวยงามเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีเนื้อที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,000 ไร่ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 652/2528 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ลงวันที่ 10 เมษายน 2538 และคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 240/2539 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ให้นายพินิต สุวรรณรัตน์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลาและวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติผลการสำรวจได้รวบรวมพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 305,000 ไร่ หรือประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาตินี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างแท้จริง และได้กันพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ออกจากที่จะประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว ประกอบกับทางอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น อาทิเช่น ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีปัญหามวลชนแต่อย่างใดและต่อมา คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ซึ่งมีนายสมเจตน์ วิริยะดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ปัจจุบันคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นแนวเทือกเขาหลายเทือกสลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไปจนจดชายแดนพม่าทางด้านทิศเหนือ มีความลาดชันมาก จุดสูงสุดเป็นยอดเขาดอยลาน สูงประมาณ 1,918 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาณาเขตทิศเหนือจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศใต้จดห้วยหมากอื้นและห้วยผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันออกจดลำน้ำของ กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันตกจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเล และมหาสมุทร ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม เป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบปี ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคมเป็นช่วงที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 21 - 26 วัน ส่วนมากเกิดตอนรุ่งเช้า โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยได้ 9.80 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วโดยเฉพาะเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34.09 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อสามารถจำแนกออกได้เป็น ป่าดงดิบ ส่วนใหญ่จะเป็นผืนป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพดินค่อนข้างลึก มีความชุ่มชื้นสูง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ประดู่ ตีนเป็ด ก่อ ฯลฯ พืชพื้นล่างจะพบหวาย ขิง ข่าป่า และเฟิน มากมายป่าสนเขา เป็นป่าที่พบในพื้นที่สูงประมาณ 300-1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีทั้งสนสองใบและสนสามใบ ส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคาป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ พบตามที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขา ตลอดจนริมห้วยทางตอนเหนือและตอนกลางของพื้นที่ จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก มะค่าโมง ประดู่ แดง ไทร และงิ้วป่าป่าเต็งรัง พบตามสันเขาและตามที่ลาดชันที่ระดับความสูงประมาณ 300-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ สภาพดินตื้น มีก้อนหินโผล่ กรวด และลูกรังปะปน ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าแต้ เต็ง รัง ตะแบกนา เป็นต้นจากการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพบไม่น้อยกว่า 408 ชนิด เช่น เลียงผา กระทิง ควายป่า หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า กระต่ายป่า และนกนานาชนิด ฯลฯ นก 123 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 30 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 30 ชนิด ปลาน้ำจืด 20 ชนิด แมลง 200 ชนิด
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ : 21,313 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 30 สิงหาคม 2551
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ70 หมู่ที่ 1 ต.ห้วยผา อ. เมืองแม่ฮ่องสอน จ. แม่ฮ่องสอน 58000โทรศัพท์ 0 5369 2055, 0 5361 9036 อีเมล reserve@dnp.go.th


อุทยานแห่งชาติแม่เงา

อุทยานแห่งชาติแม่เงา
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา
11 - 12 สิงหาคม 2551 ลูกพาแม่เที่ยวอุทยานแห่งชาติ ไม่เสียค่าบริการผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ (เฉพาะรายบุคคล ไม่เกิน 5 คน)

ข้อมูลทั่วไป
แม่น้ำเงาเป็นแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งมีความใสสะอาดมาก โดยเฉพาะในหน้าแล้งสามารถมองเห็นเงาที่สะท้อนอยู่ในน้ำได้ จึงเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำ รวมทั้งยังมีสภาพป่าดงดิบริมฝั่งน้ำอันบริสุทธิ์งดงามที่หาพบได้ยากจากแม่น้ำอื่น อุทยานแห่งชาติแม่เงามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 257,650 ไร่ หรือ 412.24 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จากการที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่ารอบเขตอุทยานแห่งชาติแม่โถ เพื่อที่จะผนวกเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม และได้พบว่าพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ และรายงานผลการสำรวจนี้ให้กรมป่าไม้ทราบ กรมป่าไม้จึงได้ออกคำสั่งที่ 1061/2536 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2536 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติภูกระดึง กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้น พื้นที่ป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย แปลงที่ 2 และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ในระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 17 สิงหาคม 2536 ต่อมากรมป่าไม้ได้ออกคำสั่งที่ 614/2537 ลงวันที่ 17 เมษายน 2537 ให้นายนิรันดร์ กมลาพร ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งป่าท่าสองยาง จังหวัดตาก ป่าอมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ และจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ด้วย และในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2538 วันที่ 18 พฤษภาคม 2538 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป มีเนื้อที่ประมาณ 257,650 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติมีสภาพเป็นเนินเขาสูงชัน จึงเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสายซึ่งส่วนใหญ่ลำน้ำเหล่านี้ไหลไปลงแม่น้ำสาละวิน จึงมีสภาพเป็นต้นน้ำลำธารของ สหภาพพม่าด้วยระบบทางน้ำธรรมชาติของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาตินี้ส่วนใหญ่มีรูปแบบคล้ายต้นไม้ ซึ่งรูปแบบชนิดนี้มีแม่น้ำใหญ่เปรียบเสมือนลำต้นและมีสาขาย่อย ๆ แยกออกเป็นกิ่งก้านของลำต้น ลำน้ำส่วนใหญ่จะไหลจากทิศตะวันออกลงสู่ทิศตะวันตก ลำน้ำจะมีน้ำไหลตลอดปี มีลำน้ำและลำห้วยที่สำคัญ ได้แก่น้ำแม่เงา เป็นลำน้ำสายสำคัญที่สุดในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นลำน้ำที่ยาวที่สุดไหลผ่านพื้นที่จัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ซึ่งไหลผ่านพื้นที่มีความยาวประมาณ 42 กิโลเมตร โดยเริ่มจากบริเวณบ้านสบโข่งไหลขึ้นเหนือถึงบริเวณสบเงา มาบรรจบกับแม่น้ำยวม แม่น้ำเงาเป็นเส้นแบ่งของจังหวัด โดยพื้นที่ตะวันตกเป็นอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และพื้นที่ทางตะวันตกจะเป็นอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะของลำน้ำมีความใสมาก จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำเงา ความกว้างประมาณ 10-20 เมตร ไหลคดเคี้ยวไปมาในฤดูฝนน้ำจะเชี่ยวมาก ชาวเขาจะใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นทางคมนาคมโดยทางเรือ ในการติดต่อกับอำเภอสบเมย ลำห้วยในพื้นที่ที่ไหลลงสู่ แม่น้ำเงามีหลายสาย เช่น ห้วยแม่เลาะน้อย ห้วยแม่บาง ห้วยแม่เละละโคร ห้วยโอโละโกร ห้วยโกงอูม เป็นต้นน้ำแม่ยวม ไหลมาจากอำเภอขุนยวม ผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง มาบรรจบกับแม่น้ำเงาที่บ้านสบเงา ตำบลแม่สอด อำเภอสบเมย และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเมยที่บ้านสบยวม ตำบลแม่สามแลบ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสายนี้ยาวประมาณ 215 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของจังหวัด แม่ฮ่องสอน ช่วงที่ไหลผ่านอุทยานฯ ยาวประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ แม่น้ำสายนี้ไหลจาก ทางทิศเหนือลงสู่ทางใต้แม่น้ำริด ไหลผ่านตำบลกองก๋อย ตำบลแม่สวด บรรจบกับแม่น้ำยวมทางด้านใต้ของบ้านแม่สวด ลำน้ำนี้ไหลจากทางทิศตะวันออกมาทางตะวันตก อยู่เหนือสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เงา ห้วยแม่โขง ไหลมาจากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มาบรรจบกับน้ำแม่เงาที่บ้านสบโขง
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแม่เงาประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่างๆ ดังนี้ ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,120 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ด้วยสภาพเป็นพื้นที่สูงและเทือกเขา จึงทำให้อากาศหนาวเย็นและมีหมอกมาก ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าไม้ในบริเวณที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติแม่เงา จะพบได้ 3 ชนิด คือ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก และส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบ ป่าชนิดนี้มักจะเกิดตามเนินเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหน้าดินลึก จะพบสองฝั่งลำน้ำเงา ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด ทำให้ป่าดูแน่นทึบเขียวชอุ่มในฤดูฝน พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบมาก ได้แก่ สัก แดง รกฟ้า เก็ดแดง เก็ดดำ ประดู่ ขึ้นปะปนอยู่ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าชนิดต่างๆ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น ป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติมักจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่ามองดูเขียวชอุ่มตลอดปี และมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พบมากตามยอดเขาสูง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ และพันธุ์ไม้จำพวกอิงอาศัย เช่น กระเช้าสีดา มอส ซึ่งเกาะตามกิ่งไม้ ส่วนพืชพื้นล่างประกอบด้วยเฟิน กล้วยไม้ดิน พืชตระกูลขิงข่า เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบในบริเวณเนินเขา ไหล่เขาและเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า พืชพื้นล่างเป็นพวกหญ้าตระกูลต่างๆเนื่องจากพื้นที่จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเป็นภูเขาสูง มีเทือกเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นอย่างดี การลักลอบล่าสัตว์ป่ายังมีน้อย ทำให้สัตว์หลากหลายชนิดอยู่ชุกชุมบริเวณพื้นที่ สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสอบถาม จากร่องรอยและจากการสำรวจในพื้นที่ประกอบด้วย หมูป่า อีเห็นข้างลาย หมีควาย เก้ง ลิง ค่าง ชะนี เลียงผา กระรอกบิน หมาจิ้งจอก หมาไน กระต่ายป่า อ้นเล็ก นก ที่สามารถพบเห็น ได้แก่ ไก่ป่า นกกาเหว่า นกเอี้ยง นกเขาหลายชนิด นกแซงแซว สาลิกา นกกระปูด นกคุ้มอกลาย นกกาฮัง นกไต่ไม้ นกบั้งรอกใหญ่ นกฮูก นกกระรางหัวขวาน นกขุนแผน นกกระจิบ นกตะขาบทุ่ง สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบมากได้แก่ งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูเหลือม งูสิง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่หลายชนิดทั่วไปในพื้นที่ โดยเฉพาะเขียดแลว พบมากในบริเวณน้ำแม่เงา ปลา จะพบอยู่ตามลำน้ำสายต่างๆ ได้แก่ ปลากระทิง ปลาแรด ปลาเขียวหางแดง ปลาบู่ ปลากดคัง ปลาแข้ เป็นต้น
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติแม่เงา : 21,186 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 12 มิถุนายน 2551
อุทยานแห่งชาติแม่เงาหมู่ที่ 8 บ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ. สบเมย จ. แม่ฮ่องสอน 58110 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา
11 - 12 สิงหาคม 2551 ลูกพาแม่เที่ยวอุทยานแห่งชาติ ไม่เสียค่าบริการผ่านเข้าอุทยานแห่งชาติ (เฉพาะรายบุคคล ไม่เกิน 5 คน)

ข้อมูลทั่วไป
อลังการทะเลหมอก
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตรตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วนอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียงเหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 24 องศาเซลเซียสและ ต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ขึ้นปกคลุมสองฝั่งของลำน้ำในพื้นที่ที่มีความสูง 500-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เติม อวบดำ หว้า งิ้วป่า ปอตูบหูช้าง ผ่าเสี้ยน มันปลา เปล้าใหญ่ ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา มันดง ม้าสามต๋อน เฒ่าหลังลาย หญ้าถอดบ้อง ตองกง เครือออน กลอย สายหยุด หัสคุณ ออสมันด้า และ เล็บเหยี่ยว เป็นต้นป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้นด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง : 306,817 คน/ครั้ง
ปรับปรุง : 23 พฤศจิกายน 2551
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังหมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150โทรศัพท์ 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร 0 5324 8491 อีเมล h.namdang_np@hotmail.com